วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ภาษาถิ่น

ประเทศไทย นอก จากจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนาม เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรข้าวปลาอาหารแล้ว ด้านความงดงามทางวัฒนธรรม ที่มีสีสันโดดเด่นแตกต่างกันในแต่ละภาค ก็ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขานระบือไกลไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการแสดง หรือวัฒนธรรมด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาษาถิ่น” ที่กำลังมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ   ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ และสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น   และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้ภาษาถิ่นใช้พูดกันในหมู่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ต่างๆ กัน โดยมียังคงมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษานั้น เช่น ภาษาไทย มีภาษาถิ่นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ ภาษาถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง หรือถิ่นกลาง เป็นต้น โดยทุกภาษาถิ่นยังคงใช้คำศัพท์ ไวยากรณ์ ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ เป็นต้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้าง ก็จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อยๆ ลงไปอีก ทั้งนี้ภาษาถิ่นแต่ละถิ่น จะมีเอกลักษณ์ทางภาษาของตนด้วย ภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูด หรือภาษาท่าทาง มากกว่าในแต่ละถิ่นอาจจะมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ในภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงขลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาท้องถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันใน ประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้องเพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติ ต่อไปการกำหนดภาษาถิ่น

การกำหนดภาษาหลัก หรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาว ถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา
         แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก
         ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสงคมหนึ่งๆ
ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)
ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ภาษาสแลง
         หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น
ภาษาตากใบเป็นภาษาตระกูลไทยกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ที่มีผู้พูดอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และในเขตรัฐกลันตันและตรังกานู ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาภาษาตากใบเฉพาะที่พูดในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เพื่อแบ่งกลุ่มของภาษาตากใบเป็นถิ่นย่อย โดยใช้วิธีการศึกษาแนวภูมิศาสตร์ภาษา ลักษณะทางภาษาที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มของภาษาตากใบคือ ลักษณะการใช้เสียงสระ [ai] หรือ [a:i] ในการออกเสียงคำที่มีรูปเขียน ใ- และ ไ- 
ผลการวิจัยพบว่า ภาษาไทยถิ่นตากใบสามารถจำแนกเป็น 2 ถิ่นย่อยตามลักษณะการใช้เสียงสระ [ai] หรือ [a:i] ซึ่งแตกต่างกันตามถิ่นย่อย คำที่แสดงลักษณะการใช้เสียงสระดังกล่าวได้แก่ ใหม่ ใหญ่ ใส่ ไก่ ไข่ ไผ่ แนวแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นตากใบพาดเป็นแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ในบริเวณตอนใต้ของจังหวัดปัตตานี และตอนเหนือของจังหวัดนราธิวาส ถิ่นย่อยของภาษาตากใบ 2 ถิ่นย่อย คือ
1) ภาษาตากใบถิ่นย่อยเหนือ เป็นถิ่นที่ใช้เสียงสระสั้น [a:i] ได้แก่ ภาษาตากใบทุกถิ่นย่อยในพื้นที่ภาษาตากใบในจังหวัดปัตตานี ยกเว้นภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านสารวัน ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และรวมเอาภาษาตากใบถิ่นย่อยในจังหวัดนราธิวาสได้ด้วย คือ ภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านเชิงเขา ตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
2) ภาษาตากใบถิ่นย่อยใต้ เป็นถิ่นที่ใช้เสียงสระยาว [a:i] ได้แก่ ภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านสารวัน ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และภาษาตากใบทุกถิ่นย่อยในพื้นที่ภาษาตากใบในจังหวัดนราธิวาส ยกเว้นภาษาตากใบถิ่นย่อยบ้านเชิงเขา ตำบลปาลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ประเภทของภาษาถิ่น
ภาษามาตรฐาน เป็น ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการพูดและการเขียน ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสารเข้าใจกันทั้งประเทศด้วยสำนวน และสำเนียงเดียวกัน ใช้ติดต่อสื่อสารในวงราชการ สถานศึกษาและสถาบันสำคัญในสังคม ในสถานการณ์ ที่เป็นทางการ ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับ ให้เป็นภาษามาตรฐานนั้น มักจะเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสาร กันอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ดังเช่น ภาษามาตรฐานของไทยก็ คือ ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร  ภาษามาตรฐานมีลักษณะดังนี้
1)  เป็นภาษาที่ได้รับการเลือกเฟ้น ภาษามาตรฐานเป็นภาษาถิ่นที่ได้รับการเลือกเฟ้น 
จากภาษาถิ่นของบุคคลในถิ่นที่มีบทบาทในการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมแล้วยกระดับ มาตรฐาน ให้ทุกคนใช้เหมือนกันและเข้าใจตรงกัน นอกจากนี้ภาษาถิ่นนั้นจะต้องมี ลักษณะผสมผสาน เอาลักษณะ ของภาษาถิ่นอื่น ๆ ไว้ด้วย 
2)  เป็นภาษาที่ได้รับการรวบรวมหลักเกณฑ์ระเบียบของภาษาไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นักวิชาการจะต้อง จัดทำพจนานุกรมและตำราหลักภาษาไว้เป็นหลักในการตรวจสอบ และผู้ใช้ยอมรับ ในหลักของภาษา มีการสอน ให้ผู้ใช้รู้หลักเกณฑ์การเขียน การอ่านให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
3)  เป็นภาษาที่ใช้ได้ทุกวงการและทุกสาขาอาชีพ เป็นภาษาที่คนหลายกลุ่มหลายหน้าที่นำไปใช้ได้ และผู้ใช้ภาษา เข้าใจตรงกันทั้งการพูดและการเขียน เช่น ในศาล ในรัฐสภา ในวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ การเมืองการปกครอง วิชาการแขนงต่าง ๆ ศิลปกรรม ดนตรีนาฏศิลป์ วรรณคดี และวรรณกรรม เป็นต้น 
4)  เป็นภาษาที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของสังคม และเทคโนโลยี มีการเพิ่มคำด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทับศัพท์ การประสมคำ หรือบัญญัติศัพท์ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ในการใช้และสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย    
5)  เป็นภาษาที่เป็นที่ยอมรับของคนถิ่นอื่นว่าเป็นภาษาประจำชาติเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่าง จากภาษาถิ่นทั่วไป เป็นเอกลักษณ์ของชาติ สร้างความภูมิใจแก่คนในชาติ



การแบ่งภาษาถิ่นที่ใช้พูดกันในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้น ถ้าแบ่งตามความแตกต่างของภูมิศาสตร์ หรือท้องที่ที่ผู้พูดภาษานั้น ๆ อาศัยอยู่ อาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ภาษาถิ่นภาคกลาง
  ภาษากลางได้แก่ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดภาคกลางของ ประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาภาคกลางที่สำคัญ คือ ภาษากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาประจำชาติ  
การแบ่งภาษาถิ่นเป็นการแบ่งอย่างคร่าวๆ ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้วภาษาในแต่ละภาคก็ไม่เหมือนกันทีเดียว มีความผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ภาษากรุงเทพฯ ถือเป็นภาษาถิ่นภาคกลางที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษามาตรฐานที่กำหนดให้คนในชาติใช้ร่วมกัน เพื่อสื่อสารให้ตรงกัน แต่ภาถิ่นทุกภาษามีศักดิ์ศรีความเป็นภาษาเท่าเทียมกัน ถ้าเราเข้าใจและสามารถใช้ภาษาถิ่นได้ จะทำให้สื่อสารสัมฤทธิ์ผลและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันยิ่งขึ้น ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นในประเทศไทย
ภาษาถิ่น ต่างๆ ในประเทศไทย มีความแตกต่างกันในแต่ละถิ่น ดังนี้
ความแตกต่างด้านเสียง
ภาษาถิ่นแตกต่างจากภาษากลางหรือภาษามาตรฐาน เพราะความแตกต่างของเสียงต่างๆ อาทิ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เช่น ความแตกต่างด้านความหมาย คำในภาษาถิ่นต่างๆ อาจมีเสียงตรงกันหรือใกล้เคียงกัน แต่มีความหมายของคำไม่ตรงกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2  ลักษณะ ดังนี้
1. ภาษามาตรฐานมีความหมายกว้างกว่าภาษาถิ่น เช่น คำว่า น้ำตาล ในภาษามาตรฐาน หมายถึง วัตถุที่มีรสหวาน โดมาจากอ้อย ตาล มะพร้าว ส่วนในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง น้ำตาลสดเท่านั้น
2. ภาษาถิ่นมีความหมายกว้างกว่าภาษามาตรฐาน เช่น คำว่า ชมพู่ ในภาษามาตรฐาน หมายถึง ผลชมพู่ แต่ในภาษาถิ่นใต้จะหมายถึง ผลชมพู่ หรือผลฝรั่งก็ได้ เป็นต้น
ระดับภาษาแบ่งออกเป็น  2  แบบ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
1. ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาแบบนี้ใช้ในโอกาสำคัญๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานราชพิธีและในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวเปิดการประชุมต่างๆ การกล่าวคำปราศรัย และการประกาศ เป็นต้น ภาษาแบบเป็นทางการอาจจัดเป็น 2 ระดับคือ ภาษาระดับพิธีการ และภาษาระดับมาตรฐานราชการหรือภาษาระดับทางการ
1.1  ภาษาระดับพิธีการ มีลักษณะเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบและมีรูปประโยคความซ้อนในความหมายขายค่อนข้างมาก ถ้อยคำที่ใช้ก็เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะและประณีต ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น ในงานพราชพิธีแล้ว ภาษาระดับพิธีการยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย
1.2  ภาษาระดับมาตรฐานราชการ แม้ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องใช้รายละเอียดประณีตและระมัดระวัง ต้องมีการร่าง แก้ไข และเรียบเรียงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ และคำนำหนังสือต่างๆ เป็นต้น
2. ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามาจัดเป็น3 ระดับ คือภาษากึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางกลาง ภาษาระดับสนทนา และภาษากันเองหรือภาษาปาก
2.1  ภาษาระดับกึ่งทางราชการ มีลักษณะที่ยังคงความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ระมัดระวังมากเท่าการใช้ภาษาเป็นทางการ เพราะอาจใช้รูปประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้เป็นระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วย ภาษาระดับกึ่งทางการในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องให้อ่ารู้สึกเหมือนกำลังฟังผู้เขียนเล่าเรื่องหรือเสนอความคิดเห็น อย่างไม่เคร่งเครียด เช่น การเขียนสารคดีท่องบทความแสดงความคิดเห็น หรือการเล่าเรื่องต่างๆ เช่น ชีวประวัติ เป็นต้น
2.2  ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะของภาษาพูดที่เป็นกลางๆ สำหรับใช้ในการสนทนากันในชีวิตประจำวัน ระหว่างผู้ส่งสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนั้นยังใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป รวมทั้งในการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะรูปประโยคไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับคำที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ แต่ตามปรกติจะไม่ใช้คำหยาบ ภาษาระดับสนทนาใช้ในการเขียน นวนิยาย บทความบทภาพยนตร์สารคดีบางเรื่อง และรายงานข่าว เป็นต้น
2.3  ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว ละมักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือในการทะเลาะด่าทอทอกัน ลักษณะของภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากนี้มีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบ ปะปนอยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย หรือเรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็น
2. ภาษาถิ่นภาคอีสาน
 อีสาน   ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นอีสาน
คำ = ความหมาย
เกิบ = รองเท้า เฮือน = บ้าน
ข้อง = ติด , คา จั่งซั่น = อย่างนั้น
จั่งได๋ = อย่างไร แซ่บอีหลี = อร่อยจริงๆ
คิดฮอด = คิดถึง ฮัก = รัก
ข่อย = ฉัน , ผม   หนหวย = หงุดหงิด
เซา = หยุด           โดน = นาน
แม่น = ใช่         กะต้า = ตะกร้า
เบิ่ง = ดู         ม่วน = สนุก

3. ภาษาถิ่นเหนือ
ภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือ คำเมือง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นพายัพ[1] เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก สุโขทัยและ เพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไทยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย
คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะเอือ แต่จะใช้สระเอียะเอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะเอีย)
ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นเหนือ
คำ = ความหมาย
กิน = กิ๋น                 ตลาด = กาด
ตลาดเช้า = กาดมั่ว ตลาดเย็น = กาดแลง
กระเป๋า = กะเลิบ เครียด = เกี้ยด
โกหก = ขี้จุ๊         ขี้ขโมย = ขี้ลัก
วัง = คุ้ม                         โกรธ = เคียด
โง่ = ง่าว                 ร่ม, กางร่ม = จ้อง, กางจ้อง
เมือง = เชียง                 ธง = ตุง
พระ = ตุ๊เจ้า                 กางเกง = เตี่ยว, ผ้าเตี่ยว
พ่อ = ป้อ                 กลับ  = ปิ๊ก

4. ภาษาถิ่นใต้
เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) รัฐเประ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย บางหมู่บ้านในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ
ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1. ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)
2.  ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก
ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้
การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (คำที่มีเสียงสระยาวสามารถออกเสียง ก. สะกดได้ชัด) กับพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก (คำที่มีเสียงสระยาว ออกเสียง ก. สะกดไม่ได้) สามารถกำหนดแนวแบ่งเขตได้ เคร่าๆ ได้โดยลากเส้นแนวแบ่งเขตจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีฝั่งอ่าวไทย ลงไปทางใต้ โดยใช้แนวเขาหลวง(เทือกเขานครศรีธรรมราช) เป็นแนวแบ่งเขต ผ่านลงไปถึงจุดระหว่างอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตกไปยังอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จรดทะเลอันดามัน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา โดยมีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น
  ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน
ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน เป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบที่ใช้อยู่ในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยภาษาพิเทนมีการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันกับภาษามลายูปัตตานีถึงร้อยละ 97
ภาษาถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล   ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี    ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป 
ตัวอย่างคำในภาษาถิ่นใต้
คำ = ความหมาย
กุบกั่บ = รีบร้อน กางหลาง   = เกะกะ
แกล้ง = ตั้งใจทำ โกปี้   = กาแฟ
ข้องใจ = คิดถึง, เป็นห่วง ขี้หมิ้น = ขมิ้น
ขี้ชิด         =   ขี้เหนียว แขบ   =  รีบ
ขี้หก, ขี้เท็จ = โกหก แขว็ก = แคะ
เคร่า = คอย, รอคอย         เคย  = กะปิ
ไคร้ = ตะไคร้         ครกเบือ = ครก
คง = ข้าวโพด         ฉ่าหิ้ว = ตะกร้า
ชันชี = สัญญา         เชียก = เชือก
ตอเบา = ผักกระถิน แตงจีน = แตงโม
โตน = น้ำตก         หรอย = อร่อย 
มนต์เสน่ห์ของภาษาถิ่น

เสน่ห์ที่สำคัญของภาษาถิ่น นอกจากจะใช้สื่อความหมายกับบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันให้เข้าใจตรงกันแล้ว ภาษาถิ่นยังมีความโดดเด่นในการช่วยรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้น ๆ ไว้ด้วย อาทิ การแสดงโนราห์ของภาคใต้ ที่ต้องใช้ภาษาถิ่นใต้ ถ้าเราใช้ภาษาถิ่นอื่น หรือภาษากรุงเทพฯ ก็จะไม่สื่อ หมดอรรถรสโดยสิ้นเชิง
การศึกษาและเรียนรู้ภาษาถิ่นนั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยนอกจากทำให้เราได้สัมผัสกับความงดงามของภาษาถิ่นในแต่ละท้องถิ่นแล้ว การที่เรารู้และเข้าใจภาษาถิ่น ยังช่วยทำให้เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันของแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ โดยปริยาย และที่สำคัญยังทำให้ผู้รู้ภาษาถิ่นนั้นสามารถอ่านศิลาจารึกสมัยก่อนซึ่งมักมีภาษาถิ่นเขียนไว้ได้อย่างคล่องแคล่ว
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาษาถิ่นต่าง ๆ หรือภาษาถิ่นย่อยมานั้น เรืองเดช ปันเขื่อนขัตย์ ได้ให้เหตุผลใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการคือ
1. ภูมิศาสตร์อยู่คนละท้องถิ่น  ขาดการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันเป็นเวลานาน หลายชั่วอายุคน ถ้าต่างถิ่นต่างไม่ไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน ๆ ทำให้กลุ่มชนชาติไทย รวมทั้งภาษาของกลุ่มเขาเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นภาษาถิ่นอื่น ๆ ซึ่งไม่เหมือนกันกับภาษาดั้งเดิมในที่สุด
2.  กาลเวลาที่ผ่านไปจากสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง   ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลง คำศัพท์ที่เรียกยากกว่าไปเรียกคำศัพท์ที่เรียกง่ายกว่ากะทัดรัดกว่า
3.  อิทธิพลของภาษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียง    ซึ่งเป็นชนหมู่มากมีอิทธิพลกว่ามีการยืม คำศัพท์จากภาษาที่มีอิทธิพลกว่า

คุณค่าของภาษาถิ่น

ภาษาถิ่น เป็นภาษาของกลุ่มชนที่บ่งบอกถึงความเป็นมา บ่อเกิดของวัฒนธรรม และอารยธรรมที่สำคัญของชาติ รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของกลุ่มชน ฉันทัส ทองช่วย (2534, หน้า 15-18) ได้กล่าวถึงคุณค่าของภาษาถิ่นไว้ ดังนี้
1. ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารกับกลุ่มชนผู้ใช้ภาษาถิ่นนั้นๆ การใช้ภาษาถิ่นติดต่อสื่อสารกับกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของภาษาจะช่วยให้สามารถ สื่อความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้ดี ทั้งจะก่อให้เกิดความเป็นกันเอง เกิดสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน ซึ่งจะช่วยให้การประกอบกิจการต่างๆ ร่วมกันดำเนินไปอย่างสะดวกราบรื่น
2. ความรู้ทางภาษาถิ่นจะช่วยให้เข้าใจความหมายของคำ สำนวน โวหารและเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านซึ่งใช้ภาษาถิ่นเป็นเครื่องมือ ในการถ่ายทอดได้ดียิ่งขึ้น
3. เป็นประโยชน์ในการศึกษาความหมายของคำในภาษาสมัยเก่า หรือคำในวรรณคดีสมัยเก่าบางคำ
4. ภาษาถิ่นช่วยในการสื่อสาร สั่งสอน และสืบทอดวัฒนธรรมของท้องถิ่นจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งให้ยืนยงคง อยู่ต่อไป เช่น สำนวนภาษา สุภาษิต บทเพลงประกอบการละเล่น วรรณกรรมท้องถิ่น ค่านิยม อุดมคติ ความเชื่อ ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่หลอมรวมอยู่ในวิถีชีวิต สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่มีภาษาช่วยสืบทอดนับวันก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา
ภาษาถิ่นในแต่ละภูมิภาคต่างมีคุณค่าทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในกลุ่มชน เพื่อให้เข้าใจในความหมายของกันและกัน นอกจากนี้ยังช่วยเป็นเครื่องมือในการ สั่งสอน และสืบทอดวัฒนธรรมของท้องถิ่นจากชนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง
ภาษาถิ่นเป็นคำที่ใช้พูดกันในหมู่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์ต่างๆ กัน โดยยังคงมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษานั้น เช่น ภาษาไทย มีภาษาถิ่นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลางหรือถิ่นกลาง ภาษาเหล่านี้มักจะมีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์ทางภาษาเป็นของตนเอง

การอนุรักษ์ภาษาถิ่น

ในประเทศไทยของเรานั้น มีภาษาถิ่นใช้กันทั่วประเทศ แต่จะแบ่งภาษาออกเป็นภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นเหนือ ภาษาอีสาน ภาษาใต้ และภาษากลาง ซึ่งในแต่ละภาคมีภาษาถิ่นของตนเองใช้กันทั้งนั้น ภาษาถิ่นของแต่ละภาคก็มีความสำคัญของแต่ละภาคนั้นๆ การสื่อสารกันโดยใช้ภาษาถิ่นของแต่ละพื้นที่ ในการติดต่อกัน มีความพิเศษของแต่ละภาษา มีความสวยงามของคำพูดที่ใช้สื่อสาร เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาคในเมืองไทย ภาษาถิ่นของไทยมีความงดงามอยู่ที่ตัวของมัน และเราก็ควรที่จะอนุรักษ์ภาษาถิ่นในเมืองไทยไว้นานๆ เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่นของไทยนั้นจะอยู่คู่ประเทศไทย ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ และพูดภาษาถิ่นของตนที่เกิดในพื้นที่ต่าง ไม่ว่าจะเป็นเหนือ กลาง อีสาน ใต้ ก็เป็นคนไทยทั้งนั้น ในเมื่อเราเป็นคนไทย ก็ควรจะหวงแหน และอนุรักษ์ความเป็นไทยของภาษาถิ่นเอาไว้ เพื่อคนไทยทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น