วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันเข้าพรรษา

ประวัติวันเข้าพรรษา
(บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សាเป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทยโดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"[2] โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร[3] ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย[4]
ความสำคัญ
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าอนุญาตการจำพรรษาแก่พระสงฆ์
ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลำบาก และเป็นช่วงฤดูทำไร่นาของชาวบ้านพระพุทธเจ้าจึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทางเพื่อประจำอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝน
ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำ
ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์ฉัพพัคคีย์พากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว
การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก
ตามพระวินัย พระสงฆ์รูปใดไม่เข้าจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงปรับอาบัติแก่พระสงฆ์รูปนั้นด้วยอาบัติทุกกฎ[
และพระสงฆ์ที่อธิษฐานรับคำเข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา" และต้องอาบัติทุกกฎเพราะรับคำนั้น รวมทั้งพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่ได้รับอานิสงส์พรรษา ไม่ได้อานิสงส์กฐินตามพระวินัย และทั้งยังห้ามไม่ให้นับพรรษาที่ขาดนั้นอีกด้วย[8]
ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์
การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
1. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน
ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์
แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[11] แต่ว่าในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น
1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และมารดาบิดา
2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5
3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น
4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.
ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้)
ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถกลับมาจำพรรษาต่อเนื่องไปได้ และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้องกลับมาภายในเจ็ดวัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฎดังกล่าวแล้ว
อานิสงส์การจำพรรษาของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา
เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ]คือ
1. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)
2. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน
3. ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้)
4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ)
5. จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)
การถือปฏิบัติการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน[แก้]
การเข้าพรรษานั้นปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท ซึ่งพระสงฆ์ในนิกายเถรวาททุกประเทศจะถือการปฏิบัติการเข้าจำพรรษาเหมือนกัน (แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการให้ความสำคัญและรายละเอียดประเพณีปฏิบัติของแต่ละท้องถิ่น)
การเตรียมตัวเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ในปัจจุบัน
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะรวมตัวกันอธิษฐานจำพรรษาภายในวิหารหรืออุโบสถของวัด
การเข้าจำพรรษาคือการตั้งใจเพื่ออยู่จำ ณ อาวาสใดอาวาสหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจำตลอดพรรษา 3 เดือน[ดังนั้นก่อนเข้าจำพรรษาพระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัวโดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเข้าพรรษา
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะลงประกอบพิธีอธิษฐานจำพรรษาหลังสวดมนต์ทำวัตรเย็นเป็นพิธีเฉพาะของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะลงประกอบพิธี ณ อุโบสถ หรือสถานที่ใดตามแต่จะสมควรภายในอาวาสที่จะจำพรรษา โดยเมื่อทำวัตรเย็นประจำวันเสร็จแล้วเจ้าอาวาสจะประกาศเรื่อง วัสสูปนายิกา คือการกำหนดบอกให้ให้พระสงฆ์ทั้งปวงรู้ถึงข้อกำหนดในการเข้าพรรษา[15] โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. แจ้งให้ทราบเรื่องการเข้าจำพรรษาแก่พระสงฆ์ในอาราม
2. แสดงความเป็นมาและเนื้อหาของวัสสูปนายิกาตามพระวินัยปิฏก
3. กำหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษาให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่กำหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา)
4. หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ทำการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้กำหนดให้พระสงฆ์รูปใดจำพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด
เมื่อแจ้งเรื่องดังกล่าวเสร็จแล้ว อาจจะมีการทำสามีจิกรรม คือกล่าวขอขมาโทษซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างพระเถระและพระผู้น้อย และเป็นการสร้างสามัคคีกันในหมู่คณะด้วย[16]
จากนั้นจึงทำการอธิษฐานพรรษา เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด โดยการเปล่งวาจาว่าจะอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส โดยพระสงฆ์สามเณรทั้งอารามกราบพระประธาน 3 ครั้งแล้ว เจ้าอาวาสจะนำตั้งนโม 3 จบ และนำเปล่งคำอธิษฐานพรรษาพร้อมกัน

การศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษาในปัจจุบัน
ในอดีต การเข้าพรรษามีประโยชน์แก่พระสงฆ์ในด้านการศึกษาพระธรรมวินัย โดยการที่พระสงฆ์จากที่ต่าง ๆ มาอยู่จำพรรษารวมกันในที่ใดที่หนึ่ง พระสงฆ์เหล่านั้นก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายองค์ความรู้ตามพระธรรมวินัยให้แก่กัน
มาในปัจจุบัน การศึกษาพระธรรมวินัยในช่วงเข้าพรรษาในประเทศไทยก็ยังจัดเป็นกิจสำคัญของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ที่อุปสมบททุกรูป แม้จะอุปสมบทเพียงเพื่อชั่วเข้าพรรษาสามเดือน ก็จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ปัจจุบันพระธรรมวินัยถูกจัดเป็นหลักสูตรของคณะสงฆ์ ในหลักสูตร พระธรรม จะเรียกว่า ธรรมวิภาค พระวินัย เรียกว่า วินัยมุข รวมเรียกว่า "นักธรรม" ชั้นต่าง ๆ โดยจะมีการสอบไล่ความรู้พระปริยัติธรรมในช่วงออกพรรษา เรียกว่าการสอบธรรมสนามหลวง ในช่วงวันขึ้น 9 - 12 ค่ำ เดือน 11 (จัดสอบนักธรรมชั้นตรีสำหรับพระภิกษุสามเณร) และช่วงวันแรม 2 - 5 ค่ำ เดือน 12 (จัดสอบนักธรรมชั้นโทและเอก สำหรับพระภิกษุสามเณร) [18]
ปัจจุบันการศึกษาเฉพาะในชั้นนักธรรมตรีสำหรับพระนวกะ หรือพระบวชใหม่ จะจัดสอบในช่วงปลายฤดูเข้าพรรษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่จะลาสิกขาบทหลังออกพรรษา จะได้ตั้งใจเรียนพระธรรมวินัยเพื่อสอบไล่ให้ได้นักธรรมในชั้นนี้ด้วย
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย
สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

— คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒
นอกจากนี้ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ยังได้กล่าวถึงการเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยสุโขทัยไว้อีกว่า "เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบก และทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือ ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ ประดับ ธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถ หอพระธรรมและพระวิหาร จุดตามให้สว่างไสวในที่นั้น ๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอาราม" ซึ่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นั้นสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมี ตามความที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับเค้าโครงของหนังสือนี้ว่าแม้มีเค้าโครงมาจากสมัยสุโขทัย แต่รายละเอียดมีการแต่งเสริมกันขึ้นมาในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น[22]
ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น
ประเพณีถวายเทียนพรรษา
เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น
มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วยด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน[มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน
การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิสดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก จนในช่วงหลังปี พ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน
ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น
ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา)
ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนในพระไตรปิฎกดังนี้
ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงออกมาสรงน้ำฝนโดยร่างเปลือยกายอยู่
พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันนั้นแล้ว จึงได้โอกาสอันควรทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา
พระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการคือ
ผ้าอาบน้ำฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ (ปกติตามพระวินัย พระสงฆ์จะมีไตรจีวรได้เพียงรูปละ 1 สำรับเท่านั้น)
1. ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
2. ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง
3. ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน
4. ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ
5. ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร
6. ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง
7. ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์
8. ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน
โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผลการถวายผ้าอาบน้ำฝนว่า เพื่อให้ใช้ปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์
ผ้าอาบน้ำฝน จึงถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 คืบพระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้
นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาใช้ได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ 3 เขตกาล คือ
เขตกาลที่จะแสวงหา ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลา 1 เดือน
เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลาประมาณ 15 วัน
เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 4 เดือน
ด้วยกรอบพระพุทธานุญาตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบำเพ็ญกุศลด้วยการจัดหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีสำคัญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษามาจนปัจจุบัน

ภาษาไทยกับภาษาวัยรุ่น


 ประวัติภาษาไทย
  
     เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ในภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทางศาสนาพราหมณ์ ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน

 ลักษณะของภาษาไทย

        วิวัฒนาการของภาษาไทย
                ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
                ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว            

        ลักษณะภาษาไทยแท้
                ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย  นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้

1.คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ
2.ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ
3.คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่    พูดมาก ดียิ่ง  คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย
4.ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่ ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา
5.ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก สะกด  แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ
6.ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์ คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์
7.ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา วาจก
8.เป็นภาษามีเสียงดนตรี นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง 
 ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน
                เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้
             สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย
           
 ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์ยิ่งกว่าสิ่งอื่น"
ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ
คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า
   "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความ รู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "





การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆของวัยรุ่น

        ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำไปและอยากจะยกตัวอย่างการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นจากความคิดเห็นของดร.นพดล กรรณิกา ว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว  เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว “ฎ” รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น “ฏ” ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น “ร” ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น “ฑ” ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น “ณ” และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น “ฐ” ตามลำดับ  นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย
         ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้  ๒ ประเด็น คือ

 ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสมกับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ

         ๒. ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “ เด็ก” ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ
และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง ดังจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้

          สวัสดี เป็น ดีครับ ดีค่ะ
          ใช่ไหม เป็น ชิมิ
          โทรศัพท์ เป็น ทอสับ
          กิน เป็น กิง

          จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเหตุผล ๒ ประการ  คือ  เพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงว่า นั่น คือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เพราะหลายๆคนนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กบางคนนำภาษาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียนจนแพร่หลาย นั่นคือความมักง่ายที่นำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม
      ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นไฟลามทุ่งอยู่ทุกวันนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ภาษาไทยอันถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยนี้อาจจะบอบช้ำเสียจนเกินเยียวยา การปลูกฝังจิตสำนึกและความตระหนักแก่ทุกคนในชาติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติล้วนมาจากจิตสำนึกทั้งสิ้น เมื่อกระทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าวิถีชีวิตแบบไหน หรือค่านิยมสมัยใหม่ประเภทใดก็ไม่สามารถทำลายภาษาไทยของเราได้อย่างแน่นอน
         พูดไทยไม่ค่อยชัด...แต่ภาษาอังกฤษ...ไม่ได้เลย” เป็นมุขตลกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่มุขตลกขำ ๆ อีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ “พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีเช่นกัน” หรืออาจกล่าวได้ว่ากำลังมีอาการของโรคสมมุติที่เรียกว่า “โรคภูมิคุ้มกันภาษาไทยบกพร่อง” โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งอาการที่พบมากที่สุดก็คือ โรค ร ล ลักปิดลักเปิด ซึ่งมักออกเสียง ร ไม่ได้ หรือออกเสียงเป็นเสียง R ในภาษาอังกฤษ  โรค ส ซ อักเสบ โดยมักมีเสียงพ่นหน้าคำมากเกินไปจนคล้ายกับเสียง S ของภาษาอังกฤษและโรควรรณยุกต์เคลื่อนเรื้อรัง ซึ่งเป็นการออกเสียงวรรณยุกต์เคลื่อนที่ไปจากระดับเสียงหนึ่ง เช่น แม่ เป็น แม้ ผีเสื้อ เป็น ผี่เสื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพูดและเขียนภาษาไทยของวัยรุ่นก็คือ สื่อมวลชนนั่นเอง โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ เด็กวัยรุ่นมักจะเลียนแบบการออกเสียงการพูดของดารา ศิลปินนักร้อง รวมทั้งพิธีกรรายการ ตลอดจนดีเจที่ตนเองชื่นชอบ เพราะคิดว่าเป็นความเท่ห์ มีเสน่ห์ โดยมักพูดไทยสำเนียงฝรั่ง ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน หรือพูดไทยคำ อังกฤษคำ เป็นต้น ส่วนด้านการเขียนนั้น พบว่า เด็กไทยเขียนภาษาไทยกันไม่ค่อยถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเคยชินกับภาษาเขียนที่ใช้ในการเขียนกลอนวัยรุ่น การส่งข้อความผ่านมือถือ และการเขียนในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะจากการแช็ต ที่จะเน้นเขียนคำให้สั้นที่สุด เช่น “555” แทนเสียงหัวเราะ “เดว” แทนคำว่า “เดี๋ยว” “ไปเดก่า” แทนคำว่า “ไปดีกว่า” คำว่า “ไม่เป็นไร” ก็เขียนเป็น “ม่ายเปนราย” งุงิ คริคริ แทนความรู้สึกบางอย่าง สาด-กรู เป็นต้น 
ภาษาวิบัติ 
เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำคำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อยรวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย
ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง
ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ดีทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้ ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใดเป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคมนั้นๆ
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยน การให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์ ไม่ค่อยน่าฟังนิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด "ภาษาวิบัติ"
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ช่วงที่มีผู้สร้างภาพยนตร์ไปตั้งเป็นชื่อ หอแต๋วแตกแหวกชิมิ กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย ระบุ คำว่า "ชิมิ" หากเป็นการใช้ภายในกลุ่มก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นการล้อกันเล่นซึ่งเป็นปกติของภาษา และจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่การนำไม่ใช้เชิงสาธารณะดังที่ไปตั้งเป็นชื่อภาพยนตร์ ถือว่าไม่เหมาะสมนักเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า สถานการณ์ภาษาไทยในปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต และวัยรุ่นใช้ภาษาแช็ตเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต และสื่อสารภายในวัยรุ่นเท่านั้น ยังไม่พบนำมาใช้ในการเขียนหรือการทำงานแต่อย่างใด
ลักษณะและตัวอย่าง การใช้ภาษาไทยวิบัติ
ลักษณะและตัวอย่าง การใช้ภาษาไทยวิบัติ
คำที่สะกดผิดได้ง่าย 
เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์
 สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)  โน้ต (โน้ต)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา 
นู๋ (หนู)   ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)  ว้าววว (ว้าว)  ป่าว,เป่า (เปล่า)  คัย (ใคร)
จัยร้าย (ใจร้าย) แล้วมันจะเพิ่มภาระการพิมพ์ทำไมเนี่ย
มัย (ทำไม,ไม่) คนอ่านสุดจะเดาว่า “ทำไม” หรือ “ไม่” กันแน่

การลดรูปคำ 
เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด
มหาลัย หรือ มหา’ลัย (มหาวิทยาลัย) วิดวะ (วิศวะ)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน 
ใช่ไหม → ใช่มั้ย
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์ 
ไม่ → ม่าย  ใช่ → ช่าย  ใคร → คราย  
อะไร → อาราย  เป็นอะไร → เปงราย










การละเล่นพื้นบ้านของไทย


ความหมายของการละเล่นพื้นบ้านของไทย
       คำว่า การละเล่น เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยบางท่านกล่าวว่าเป็นการปรับ
เสียงคำว่า การเล่น ให้ออกเสียงง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร ให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่น
เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากการประกอบกิจประจำวัน และการเล่นใน
เทศกาลท้องถิ่นหรือในงานมงคลบ้าง อวมงคลบ้าง เช่น เพลงพื้นเมือง ละคร ลิเก ลำตัด หุ่น หนังใหญ่
ฯลฯ ด้วยเหตุที่การละเล่นมีความหมายของคำว่า การละเล่นของไทย
การละเล่นของไทย หมายถึง การเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อความบันเทิงใจทั้งที่เป็นการเล่นที่
มีกติกาหรือไม่มีกติกา ไม่มีบทร้องประกอบหรือมีบทร้องประกอบให้จังหวะ บางทีก็มีท่าเต้น ท่ารำ
ประกอบ เพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ทั้งผู้เล่นและผู้ชมมีส่วนร่วมสนุก (สารานุกรมส าหรับ
เยาวชน. 2535 : 166.)
 สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 1 อ้างอิงมาจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน.) พ.ศ. 2525
ได้ให้ความหมายของคำว่า การละเล่น ไว้ว่า การละเล่นงานมหรสพต่างๆ การแสดงต่างๆ เพื่อความ
สนุกสนานรื่นเริง การละเล่นของเด็กตรงกับภาษาอังกฤษว่า Play ซึ่งหมายถึง การเล่น เล่นสนุก
 สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 1 อ้างอิงมาจาก Hurloch 1956 : 321.) ได้กล่าวไว้ว่า การ
เล่นเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน โดยไม่คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและเป็นกิจกรรม
ที่กระทำโดยไม่มีการบังคับ
 สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 1 อ้างอิงมาจาก Rudolph 1984 : 95.)ได้ให้ความหมายของ
การละเล่นว่าเป็นกระบวนการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ของเด็ก คือ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์
และสังคม
 สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 1 อ้างอิงมาจาก ผอบ โปษะกฤษณะ.) ได้ให้ความหมายของ
การละเล่นของเด็กไทยไว้ว่าเป็นการละเล่นต่างๆของเด็กที่นิยมเล่นกันในชีวิตประจำวัน โดยสืบทอด
มาจากคนรุ่นก่อน ซึ่งบางประเภทมีบทร้อง และบทรำประกอบ ส่วนกฎเกณฑ์ต่างๆมีการกำหนดขึ้น
เองตามข้อตกลงของกลุ่มผู้เล่นในแต่ละท้องถิ่น บางครั้งก็เล่นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง แต่บางครั้งก็
เล่นเพื่อการแข่งขัน
2.ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้านของไทย
        สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 7-10 อ้างอิงมาจากหอสมุดแห่งชาติ. 2504 : 336)กล่าวถึง
ประวัติความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านของไทยว่าการละเล่นพื้นบ้านของไทยมีมาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ โดยศึกษาได้จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ได้กล่าวถึงการละเล่นพื้นบ้านของ
คนไทยในสมัยนั้นว่าอยู่เย็นเป็นสุข อยากเล่นก็เล่น ดังที่ใครจักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักเลื่อน
เลื่อน แต่ไม่ได้บอกรายละเลียดว่าเล่นอะไรบ้างแต่ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการเล่น
ของคนสมัยนั้นว่า เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษกเถลิงพระโคกินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่
นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหว่าวฟังสำเนียงว่าร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี
ในสมัยอยุธยา ได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ในบทละครเรื่องนางมโนห์รา ซึ่งสมเด็จพระยาดำรง
ราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่ก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบท
ละครเรื่องนี้คือ ลิงชิงหลัก และการเล่นปลาลงอวน วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏชื่อการละเล่น
หลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น ในเรื่องขุนช้างขุนแผน ก็กล่าวถึงการละเล่น
บางอย่างไว้
 พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในหนังสือฟื้นความหลังไว้ว่า การเล่นของเด็กปูนนี้ไม่มี
ปืน ไม่มีรถยนต์เล็กๆ อย่างที่เด็กเล่นกันเกริกในเวลานี้ลูกหนังสำหรับเด็กเล่น แม้มีแล้วก็ราคาแพง
และยังไม่แพร่หลาย ตุ๊กตาที่มีดินคือตุ๊กตาล้มลุกและตุ๊กตาพราหมณ์นั่งเท้าแขนสำหรับเด็กหญิงเหล่านี้
เด็กๆชาวบ้านไม่มีเล่นเพราะต้องซื้อ จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำให้หรือไม่ก็เด็กทำกันเองตามแบบที่สืบต่อกันมา
ตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสานด้วยทางมะพร้าวสำหรับเตะเล่น หรือตุ๊กตาวัว
ควาย ปั้นด้วยดินเหนียวของเด็กเล่นที่สมัยนั้นนิยมเล่นกันคือ กลองหม้อตาล ในสมัยนั้นขายน้ำตาล
เมื่อขายหมดแล้ว เด็กๆก็นำมาทำเป็นกลอง มีวิธีทำคือ ใช้ผ้าขี้ริ้วหุ้มปากหม้อ เอาเชือกผูกรัดคอหม้อ
ให้แน่นแล้วเอาดินเหนียวเหลวๆละเลงทาให้ทั่ว หาไม้เล็กๆ มาตีผ้าที่ขึงข้างๆหม้อโดยรอบเพื่อขันเร่ง
ให้ผ้าตึงเป็นอันสำเร็จ ตีได้มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง ถ้าตีกระหน่ำจนผ้าหุ้ม
ขาดก็ทำใหม่
 ส่วนเด็กหญิงส่วนใหญ่ชอบเล่น หม้อข้าวหม้อแกง หรือเล่นขายของ หุงต้มแกงไปตามเรื่อง
เอาเปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบบิดผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อยคั้นเอาน้ำข้นๆ รองภาชนะอะไรไว้
ในไม่ช้าจะแข็งตัวเอามาทำเป็นวุ้น คนไทยในอดีตมองการละเล่นของเด็กไปในแง่จิตวิทยาโดย
ตีความหมายของการแสดงออกของเด็กไปในเชิงทำนายอนาคต หรือแสดงบุพนิมิตต่างๆความเชื่อ
เช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน สำหรับการละเล่นของไทย พระยา
อนุมานราชธน ได้กล่าวไว้ว่า การละเล่นพื้นบ้านของไทยมีมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์
น่าจะได้แก่ แตกโพละโดยเอาดินเหนียวปั้นเป็นรูปกระทงเล็กๆแต่ให้ส่วนที่เป็นก้นมีลักษณะบางที่สุดที่จะบางได้ และขว้างลงไปบนพื้นให้แรงก็จะมีเสียงแตกดังโพละ และเป็นช่องโหว่ที่ก้นแล้วเอา
ดินแผ่นบางๆ มาทาให้เท่ารูโหว่ การละเล่นนี้จะเกิดขึ้นเพราะมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะและ
เด็กเห็นผู้ใหญ่จึงนำมามาปั้นเล่นบ้าง
 สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 10 อ้างอิงมาจาก ผอบ โปษะกฤษณะ.) ได้กล่าวถึงประวัติของ
การละเล่นว่า การละเล่นมีมาตั้งแต่สมัยกรีก คือ ระยะแรกของรอบพันปีก่อนคริสตกาล ซึ่งปรากฏ
หลักฐานอยู่ในหนังสือมหาพากย์อีเลียด (Iliad) ของโฮเมอร์ (Homer)ชาวกรีกโบราณ ถือว่าความ
สมบูรณ์ของร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นการละเล่นต่างๆจึงหนักไปใน
ทางออกก าลังกายเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การแข่งรถม้า ชกมวย ขว้างจักร มวยปล้ำ พุ่งแหลน ยิงธนู เป็น
ต้น
 การละเล่นของไทยเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานก็ว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ปรากฏในบท
ละครเรื่องมโนห์ราครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่า ลิงชิงเสา ปลาลงอวน บทละครเรื่องนี้นี้สมเด็จ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่น
ของไทยแต่เดิมมาและบางอย่างยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ หากมีการสืบทอดวิธีเล่นบางอย่างที่ดีงาม
นำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทย ไม่เฉพาะแต่การพัฒนาบุคคลเท่านั้น ยัง
ช่วยพัฒนาสังคมอีกด้วย
 การละเล่นต่างๆ ย่อมจะแตกต่างกันไปตามวัยของบุคคลและตามสภาพท้องถิ่น การละเล่น
ของไทยก็เช่นเดียวกัน แต่การละเล่นบางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็ก
หรือของผู้ใหญ่ เช่น การเล่นว่า การเล่นช่วงชัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากวิธีการเล่นต่างๆ จะเห็นได้
ว่าการละเล่นของไทยมีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญาช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึก
จิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และช่วยสร้างคนดีให้สังคม (สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน. 2537 :
167)
 การละเล่นพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีการเล่นกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยทั้งหมด
เกิดขึ้นจากความคิดของมนุษย์ทั้งรูปแบบการเล่นกติกาการเล่นต่างๆ ซึ่งมนุษย์เองมีจุดหมายเพื่อให้
เกิดประโยชน์ในหลายๆด้าน เช่น ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส
ทำให้อารมณ์ดี เพิ่มพูนสติปัญญา และยังช่วยให้ผู้คนในสังคมใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสามัคคีกัน
และเข้าอกเข้าใจกัน (สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์. 2554 : 6)




3.ประเภทของการละเล่นพื้นบ้านของไทย
       นักวิชาการด้านคติชนวิทยาให้ความสนใจการละเล่นเพียงเล็กน้อย และไม่ค่อยคำนึงถึง
ธรรมชาติของการเล่นจะมุ่งแต่สนใจในด้านประวัติและการถ่ายทอดวิธีเล่น ไม่มีการจัดแบ่งประเภท
ของการละเล่น ในปี 1995Grain Sutton-Smith ได้นำเสนอผลงานชื่อ The Game of New Zealand Children โดยเขาได้จัดประเภทของการละเล่นออกเป็น 4 แบบ แต่ละแบบมีพื้นฐานจากพฤติกรรม
ดังนี้
 1.นันทนาการ (recreation) เป็นการละเล่นที่เลียนแบบการแสดง หรือละคร เป็น
การละเล่นตามบทบาทและการเลียนแบบ
 2.เกม (game) เป็นการเล่นแข่งขัน ซึ่งจะมีผู้แพ้และผู้ชนะ
 3.การแข่งขันระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน เป็นการละเล่นที่เน้นหนักไปในการวางแผน
 4.การละเล่นที่อาศัยโชค เช่น การทาย
ในประเทศไทย การรวบรวมเรื่องการละเล่นกระทำกันแพร่หลายแต่การวิจัยการละเล่นนั้นๆตาม
วิธีการทางคติชนวิทยา (Folklore)และชนชีพิตศึกษา (Folklore) ยังไม่ปรากฏแพร่หลาย มีงานวิจัยและ
รวบรวมที่ปรากฏ ดังนี้
 ปี พ.ศ. 2463 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานนุภาพ ทรงโปรดให้รวบรวมบทกล่อมเด็ก บท
ปลอบเด็ก และบทเด็กเล่น ซึ่งได้จากมณฑลพายัพ มณฑลอุดร ร้อยเอ็ด มณฑลนครศรีธรรมราช
ปัตตานี ภูเก็ต และมณฑลกรุงเทพ
 ปี พ.ศ.2509 กุหลาบมัลลิกะมาศ ได้ศึกษารวบรวมคติชาวบ้าน ได้เพลงประกอบการละเล่น
ของเด็ก 36 บท จุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมคติชาวบ้าน ไม่ได้ทำการวิเคราะห์
 ปี พ.ศ. 2515 ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ ได้รวบรวมและจัดประเภทการละเล่นของไทยตามแบบ
ของวอร์เรน อี โรเบอร์ตส์ (Warren E. Roderts) โดยแบ่งการละเล่นออกเป็น 16 ประเภท คือ
1.ประเภทการเล่นทาย9.ประเภทกระโดดข้าม
 2.ประเภทการนับ 10.ประเภทตลก
 3.ประเภทการกระโดดเชือก 11.ประเภทกระดาษดินสอ
 4.ประเภทซ่อนหา 12.ประเภทความแม่นยำ
 5.ประเภทการปรับ 13.ประเภทเกี้ยว
 6.ประเภทการไล่-ไล่จับ 14.ประเภทไม้
 7.ประเภทคัดออก 15.ประเภทสำหรับเด็กเล็ก
8.ประเภทลูกบอล 16.ประเภทร้องเพลงระบำ
 ปี พ.ศ. 2520 สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเนาว์ ได้ศึกษาเรื่องการละเล่นของเด็กล้านนาไทยใน
อดีต ได้จัดประเภทของการละเล่นของเด็กตามที่ปรากฏในคำสู่ขวัญได้ 7 ประเภท คือ
1. การละเล่นโดยการเลียนแบบการท างานของผู้ใหญ่
2. การละเล่นโดยการเลียนแบบการประกอบอาชีพของผู้ใหญ่
3. การละเล่นโดยการเลียนแบบวิธีหาอาหารของผู้ใหญ่
4. การละเล่นเพื่อความเพลิดเพลินของตนเองตามลำพัง 5. การละเล่นโดยมีกติกา
6. การละเล่นกับเพื่อนๆ โดยไม่มีกติกา
7. การละเล่นแข่งขันโดยมีการพนัน
 ในปี พ.ศ. 2522 พันตรี ผอบ โปษะกฤษณะ และคณะ ได้วิจัยเรื่องการละเล่นของเด็กภาค
กลางโดยจัดประเภทการละเล่นตามสถานที่ ดังนี้
1. การละเล่นกลางแจ้ง ได้การละเล่นประเภทมีบทร้อยกรองประกอบ 8 ชนิด
ประเภทมีคำโต้ตอบ 4 ชนิด และประเภทไม่มีบทร้องประกอบ 32 ชนิด
2. การละเล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ ได้การละเล่นประเภทไม่มีบทร้อง 8 ชนิด
3. การละเล่นในร่ม ได้ประเภทที่มีบทร้องประกอบ 8 ชนิด และประเภทที่ไม่มี
บทร้องประกอบ 24 ชนิด
4. การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่
5. การเล่นบทล้อเลียน
6. การเล่นประเภทเบ็ดเตล็ด
7. การเล่นปริศนาคำทาย
 สุขพัชรา ชิ้มเจริญ (2546 : 13 อ้างอิงมาจาก อรชร อ่ำจันทร์.) ได้จัดประเภทและวิเคราะห์
ลักษณะของการเล่นพื้นเมืองไทยโดยแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. การเล่นประเภทมีกติกาที่มีบทร้องประกอบและไม่มีบทร้องประกอบ
2. การเล่นไม่มีกติกา ได้แก่ การเล่นของเล่น การเล่นปริศนาคำทาย การเล่น
ล้อเลียน
ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์แบ่งการละเล่นของเด็กไทยออกตามกติกาการเล่นได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1. การละเล่นที่เน้นการแพ้ชนะ ได้แก่ การเล่นที่มีผู้แพ้ชนะที่แน่นอน ซึ่งผู้เล่น ทั้ง 2
ฝ่ายยอมรับการเอาชนะกันในการเล่นที่ผู้เล่นเกิดความรู้สึกว่ามีความสำคัญนั้น ต้องการแพ้ชนะที่เกิด
จากความชำนาญและความสามารถที่เหนือกว่าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่การแพ้ชนะที่เกิดจากการ
หมุนเวียนสับเปลี่ยนตัวผู้เล่น
 2.การเล่นที่ไม่เน้นการแพ้ชนะ เป็นการเล่นเพื่อฆ่าเวลา เพื่อความสนุกสนาน เพื่อการ
ออกก าลังกาย และการฝึกฝนตนเองในบางด้าน ผู้เล่นจะแพ้หรือชนะก็ไม่รู้สึกว่าสำคัญ อาจเป็นการ
เล่นที่ผู้เล่นทุกคนมีโอกาสได้สับเปลี่ยนหน้าที่กัน จึงทำให้ลดความรู้สึกเรื่องแพ้ชนะลง




 4.การละเล่นพื้นบ้านแบบๆ ต่างของไทย
        การละเล่นที่มีบทร้อง
1. อ้ายเข้อ้ายโข
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :จับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเป็นอ้ายเข้ สมมุติเป็นแม่น้ำมี 2 ฝั่ง คนอื่นๆ อยู่บนบก อ้ายเข้อยู่
วิธีเล่น :จับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเป็นอ้ายเข้ สมมุติเป็นแม่น้ำมี 2 ฝั่ง คนอื่นๆ อยู่บนบก อ้ายเข้อยู่กลาง
แม่น้ำทุกคนต้องว่ายน้ำข้ามฝั่ง อ้ายเข้คอยจับคนกำลังว่ายน้ำให้ได้ ถ้าอ้ายเข้จับใครได้คนนั้นต้องเป็น
อ้ายเข้แทนระหว่างวิ่งข้ามฝั่ง คนบนบกจะหยอกล้อทำท่าทางต่างๆ
 บทร้องประกอบ: อ้ายเข้อ้ายโขง อยู่ในโพรงไม้สัก อ้ายเข้ฟันหัก กัดคนไม่เข้า
2. มอญซ่อนผ้า
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น :มีผ้า 1 ผืน เป็นอุปกรณ์การเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว เลือกคนที่เป็นมอญ คนอื่นๆ นั่งล้อมวงคนที่
เป็นมอญถือผ้าไว้ในมือ เดินวนอยู่นอกวง คนที่นั่งล้อมวงอยู่จะร้องเพลง ระหว่างนั้นคนที่เป็นมอญจะ
ทิ้งผ้าไว้หลังใครก็ได้ แต่ต้องพรางไว้เป็นว่ายังถือผ้าอยู่ เมื่อเดินกลับมา ผ้ายังที่อยู่เดิม ก็หยิบผ้าไล่ตี
ผู้อื่น ผู้เล่นนั้นต้องวิ่งหนีไปรอบๆ วง แล้วจึงนั่งได้ ผู้เป็นมอญจะเดินวนต่อไปหาทางวางผ้าให้ผู้อื่น
ใหม่ถ้าใครรู้สึกตัวคลำพบผ้าจะวิ่งไล่ตีมอญไปรอบวง 1 รอบ มอญต้องรีบวิ่งหนีมานั่งแทนที่ คนไล่ก็
ต้องเป็นมอญแทน
บทร้องประกอบ : มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ
3. รีรีข้าวสาร
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น :จับไม้สั้นไม้ยาว ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะ
ไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้งหัวแถว
จะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้น
คนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจาก
การเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบเกม
บทร้องประกอบ : รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุน
ร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี
 การละเล่นที่เน้นความคล่องแคล่วว่องไว
4. กาฟักไข่
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้นเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ
4 ฟุต 1 วง และอีกขาอยู่ในวงแรกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วางไข่กำหนดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คน
ใดคนหนึ่งเป็นกายืนในวงกลมใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมใหญ่
คอยแย่งไข่คนเป็นกามีหน้าที่ ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
 1. ผู้มีหน้าที่หยิบ (แย่ง) ไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
 2. ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
 3. ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมด ให้ปิดตาอีกา แล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้
เล่นคนใดเป็นคนซ่อนผู้นั้นต้องเปลี่ยนเป็นกาแทน
 5.ตี่จับ
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น : แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดย
เลือกพวกของตนคนหนึ่งเป็นคนเข้าไปตี่ คนตี่จะออกเสียง "ตี่..." หรือ "หึ่ม...เข้าไปในแดนฝ่ายตรง
ข้าม ในขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามต้องคอยยึดตัวไม่ให้กลับเข้าแดนของตนได้ จนกว่าจะขาดเสียงผู้นั้น
ต้องมาเป็นเชลยของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าสามารถหนีกลับเข้าแดนตนได้ คนที่ถูกแตะจะกี่คนก็ตามต้อง
ไปเป็นเชลยสลับกันเมื่อมีฝ่ายของตนเป็นเชลย ผู้ที่ตี่คนต่อไปต้องพยายามช่วยพวกของตนกลับมาให้
ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้องคอยกันไม่ให้แตะกันได้ ถ้าแตะกันได้เชลยจะได้กลับแดนของตน เล่นกันเช่นนี้
จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นก่อน ฝ่ายชนะมีสิทธ์จะให้ฝ่ายแพ้ทำอะไรก็ได้
6.  เก้าอี้ดนตรี
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :ผู้เล่นทุกคนยืนเป็นวงหลังเก้าอี้ เมื่อเพลงขึ้นทุกคนต้องรำ เมื่อเพลงหยุดตอนใด ทุกคนต้องรีบ
นั่งเก้าอี้ คนที่เหลือแย่งไม่ทันเพื่อน ต้องออกจากการแข่งขัน กรณีที่แย่งกันนั่งพร้อมกัน 2 คน เก้าอี้ตัว
เดียวกัน ตัดสินไปว่าใครนั่งก่อนให้เริ่มใหม่ เล่นกันต่อไปจนเหลือคนสุดท้าย ก็จะเป็นผู้ชนะเงื่อนไข
จำนวนเก้าอี้ต้องน้อยกว่า ผู้เล่น 1 ตัว ทุกครั้ง เช่น ถ้ามีผู้เล่น 4 คน ต้องมีเก้าอี้ 3 ตัว
7. เสือกินวัว
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นวัว อีกคนหนึ่งเป็นเสือที่เหลือนอกนั้นจับมือกันยืนล้อมวงเป็นคอกวัว
ให้วัวอยู่กลางวงส่วนเสืออยู่นอกวงและพยายามจะเข้าไปในคอกเพื่อจับวัวกินคอกก็ต้องจับมือกัน
แน่นๆ ไม่ให้เสือฝ่าเข้าไปได้เสือต้องพยายามหาคอกด้านที่คิดว่าไม่แน่นหนา และฝ่าเข้าไปเมื่อเข้าไปได้เสือต้องพยายามหาคอกด้านที่คิดว่าไม่แน่นหนา และฝ่าเข้าไปเมื่อเข้าไปได้ก็ไล่จับวัวให้ได้ วัวจะ
วิ่งหนีทันที ซึ่งมักหนีออกไปนอกคอกพอเสือจะตามไปคอกก็ต้องพยายามกันไว้ ถ้าเสือฝ่าออกไปได้
ก็จะวิ่งไล่จับวัวพอจับได้ก็ถือว่าการเล่นสิ้นสุดลงจะเปลี่ยนให้คนอื่นมาเป็นเสือกับวัวแทนคู่เก่าที่ไป
เป็นคอกบ้าง
8. วิ่งเปี้ยว
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น :แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน โดยปักหลัก 2 ข้าง หรือใช้คนนั่งเป็นหลักข้างละหลัก ระยะห่าง
ประมาณ 50 เมตร มีกรรมการตัดสิน 1 คน เริ่มต้นพร้อมกันทั้งสองข้าง ต้องวิ่งล้อมหลักไล่ให้ทันกัน
มือถือผ้าคนละผืน เมื่อถึงฝ่ายของตน ส่งผ้าให้คนต่อไป เป็นเช่นนี้จนวิ่งทันกัน ฝ่ายไล่ทันต้องใช้ผ้าที่
ถืออยู่ตีอีกฝ่ายหนึ่ง ถือว่าฝ่ายนั้นชนะ
 การละเล่นที่เน้นทักษะการกระโดด การทรงตัว
9. กระโดดเชือกขาเดี่ยว
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :เชือกยาวขนาดพอตัวผู้เล่นจับปลายเชือกทั้งสองข้างแกว่งไปข้างหน้า กระโดดข้ามทีเดียว 2
ขา หรือทีละขาก็ได้ ถ้ากระโดดไปเหยียบเชือกก็หมดรอบ หรือจะแกว่งย้อนหลังก็ได้
10. เสือข้ามห้วยหมู่
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น :เหมือนกับเสือข้ามเดี่ยว แต่จำนวนผู้ที่เป็นห้วยเพิ่มมากขึ้น นั่งเรียงกันไป โดยเว้นระยะห่าง
พอสมควร ผู้ที่เป็นเสือต้องกระโดดข้ามให้พ้นหมดทุกด่าน ถ้าตายที่ด่านใดด่านหนึ่ง ทุกคนจะต้อง
ตายหมดกลายมาเป็นห้วยแทนสลับกัน ส่วนเสือข้ามห้วยเดี่ยวนั้น ถ้าเสือข้ามพ้นทุกขั้น ผู้เป็นห้วยจะ
ถูกลงโทษโดยพวกเสือจะช่วยกันหามไปทิ้งแล้วิ่งกลับมาที่เล่น ผู้ที่เป็นห้วยต้องพยายามจับให้ได้ ถ้า
จับคนใดได้คนนั้นต้องมาเป็นห้วยแทน
11. แตะหุ่น
จำนวนผู้เล่น :ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
วิธีเล่น :จับไม้สั้นไม้ยาว เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นคนวิ่งไล่ คนอื่นๆ หลอกล่อ เมื่อคนวิ่งไล่ไปแตะใคร
คนนั้นต้องหยุดนิ่งในท่าทีกำลังกระทำอยู่นั้น จะเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าไม่ได้ ถ้าเคลื่อนไหวคนนั้น
ก็ตาย ต้องมาเป็นคนไล่แทน ถ้าแตะได้หมด และทุกคนเป็นหุ่นหมด ผู้วิ่งไล่จะแสดงท่าหลอกล่อต่างๆ ให้ยิ้ม หัวเราะหรือเคลื่อนไหว ใครเคลื่อนไหวต้องมาเป็นคนวิ่งไล่แทน
 การละเล่นที่เน้นทักษะการนับ การกะระยะ
12.หมากเก็บ
จำนวนผู้เล่น :จำนวนผู้เล่น 2 – 4 คน
วิธีเล่น :ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือ
หมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่
ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก
 หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า ตายขณะที่หยิบเม็ดที่
ทอดนั้นถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
 หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
 หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
 หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลง
พื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้
ขึ้นร้านได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า ตาย
ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น
ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่
กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้นวิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิก
แพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 – 3 – 4
เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 – 3 -4 ก็เล่นเหมือนกันโยนขึ้นทั้งหมดเรียกว่า หมากพวงถ้าโยนลูกนำขึ้น
เล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูป
วงกลมเตรียมไว้เรียก หมากจุ๊บถ้าใช้มือซ้ายป้องและเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2
-3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า อีกาเข้ารังถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้ว
อื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า อีกาออกรังถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขด
เป็นวงกลม นิ้วชี้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า รูปูเมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย
ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คน
ทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบเมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้น
ต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง
 บทร้องประกอบ: ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ(สุขพัชรา ชิ้มเจริญ. 2546 : 17-56)