วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

การเดินทางไปงานประเพณีผีตาโขน
      จากกรุงเทพฯ ( ห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ) ใช้ถนนพหลโยธิน ( ทางหลวงหมายเลข 1 ) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี ประมาณ 75 กิโลเมตร จะถึงตัวเมืองสระบุรี จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดลพบุรี ประมาณ 16 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ ( ทางหลวงหมายเลข 21 ) เมื่อเลี้ยวขวาแล้วขับตรงไปมุ่งหน้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประมาณ 269.4 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 203 ขับตรงไป ประมาณ55.8 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 2014 ขับตรงไปประมาณ 10.6 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวา ไปทางอำเภอ ด่านซ้าย แล้วขับตรงไปประมาณ 800 เมตร ทางด้านซ้ายมือ คือ งานผีตาโขน

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอด่านซ้ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
1.ด่านซ้าย(Dan Sai)  15 หมู่บ้าน 6.อิปุ่ม(Ipum) 13 หมู่บ้าน
2.ปากหมัน(Pak Man) 7 หมู่บ้าน      7.กกสะทอน(Kok Sathon)  11 หมู่บ้าน
3.นาดี(Na Di) 9 หมู่บ้าน 8.โป่ง (Pong) 11 หมู่บ้าน
4.โคกงาม(Khok Ngam) 7 หมู่บ้าน 9.วังยาว(Wang Yao)  7 หมู่บ้าน
5.โพนสูง(Phon Sung) 9 หมู่บ้าน 10.นาหอ(Na Ho) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอด่านซ้ายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลด่านซ้าย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลด่านซ้าย
เทศบาลตำบลศรีสองรัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านซ้าย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลด่านซ้าย)
องค์การบริหารส่วนตำบลปากหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากหมันทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดีทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกงามทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสูงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลอิปุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอิปุ่มทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลกกสะทอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกสะทอนทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยาวทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนาหอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหอทั้งตำบล

การทำหมวกผีตาโขน
       1. ไม้นุ่น
       2. คัตเตอร์
       3. พู่กัน
       4. สีน้ำ สีน้ำมัน
       5. แลกเกอร์
       6. กระดาษทราย

วิธีทำหมวกผีตาโขน
1. นำไม้นุ่นที่ตากแห้งแล้วมาตัดและเหลาให้ขึ้นรูปผีตาโขนครึ่งตัว (เริ่มจากรูปหัว ตัว และหน้า)
2. ขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบ
3. รองพื้นด้วยสีขาว นำไปผึ่งให้แห้ง (ประมาณ 30 นาที)
4. ระบายสีเป็นรูปหน้ากากผีตาโขน (ตามความถนัด) ถ้าเป็นสีน้ำต้องเคลือบด้วยแลกเกอร์ แต่ถ้าเป็นสีน้ำมันไม่ต้องเคลือบอีก
5. นำลงในบรรจุภัณฑ์ที่สานด้วยไม้ไผ่ ติดฉลาก เตรียมจำหน่าย

ตำนานเรื่องเล่า
       ที่มาของผีตาโขนพระเอกของงานนี้ นับเป็นอุบายอันแยบคายเฉพาะของบรรพบุรุษเมืองด่านซ้ายให้เด็ก ๆ ในเมืองเล่นสนุกกันเป็นการส่งท้ายงานบุญโดยจับเอา เวสสันดรชาดก พระชาติที่ 10 ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าในตอนที่พระเวสสันดรจะได้กลับคืนพระนคร บรรดาผีป่าทั้งหลายต่างพากันมาส่งเสด็จจนถึงในเมือง เมื่อเข้าเมืองด้วยความเป็นผีป่าไม่เคยเข้าเมือง ก็เลยออกพากันตระเวณเที่ยวเมือง โดยไม่ได้ทำอันตรายใคร แต่ด้วยความที่เป็นผี เมื่อชาวเมืองไปพบเข้าจึงตกใจกลัว สัญชาตญาณผีก็อดที่จะแลบลิ้นปลิ้นตาหลอกชาวบ้านไม่ได้เมื่อได้เวลาบรรดาผีป่าก็จะพากันออกนอกเมืองกลับคืนสู่ป่า พร้อม ๆ กับนำพาความโชคร้ายและทุกข์โศกโรคภัยทั้งปวงออกจากเมืองไปด้วยประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นงานประเพณีเล็ก ๆ ที่เล่นกันอยู่ในขอบเขตอำเภอเล็ก ๆ คืออำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่ด้วยรูปแบบและเนื้อหาของงานที่เป็นเรื่องผี ๆ แต่เป็นผีน่ารักน่าสนุกจึงน่าสนใจยิ่งสำหรับมนุษย์งานเล็กจากอำเภอเล็ก ๆ งานนี้ สุดท้ายจึงก้าวออกไปเป็นงานประเพณีที่เชิดหน้าชูตาของภูมิภาคอีสาน และกลายเป็นงานประเพณีระดับชาติ ทุกปีจะมีชาวต่างประเทศจากทั่วโลกเดินทางไปเที่ยวชมงานผี ๆ งานนี้กันปีละไม่ใช่น้อย งานประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นการรวมงานสำคัญของท้องถิ่นสามงานเข้าด้วยกันคือ งานบุญผะเหวด หรือบุญพระเวส อันเป็นงานฉลองการฟังเทศน์มหาชาติ งานแห่ผีตาโขน และงานบุญบั้งไฟ เข้าด้วยกัน
รูปแบบประเพณี
       งานประเพณีแห่ผีตาโขน ผูกพันแนบแน่นกับองค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองคือ องค์พระธาตุศรีสองรักษ์ ที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นโดยพระมหาจักรพรรดิฝ่ายกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชฝ่ายกรุงศรีสัตนาคนหุด เพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงมิตรภาพระหว่างกันวงจรของประเพณีผีตาโขน เริ่มต้นขึ้นโดยบุคคลศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองสองคนคือ เจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม ที่มีฐานะเป็นดังผู้วิเศษหมอผี และครูใหญ่ของเมืองที่มีหน้าที่หลักในการดูแลองค์พระธาตุศรีสองรัก พระธาตุคู่เมืองด่านซ้ายโดยเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม จะเป็นจุดเริ่มต้นวงจรของประเพณีนี้เริ่มต้นจากพิธีบายศรีที่บ้านของเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียมในภาคเช้าและระหว่างที่พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์กำลังดำเนินอยู่นั่นเอง เด็ก ๆ ในทุกบ้านเรืองของเมืองด่านซ้ายก็จะช่วยกันจัดหาเศษผ้ามาเย็บเป็นเสื้อผ้าของผีตาโขน หาอุปกรณ์คือหวดนึ่งข้าวเหนียวและแกนก้านมะพร้าวมาทำหน้ากากผีตาโขนด้วยการวาดลวดลายเพิ่มสีสันเป็นผีตาโขนที่หน้าตาโหดร้ายน่ากลัว หา "หมากกะแหล่ง" หรือกระดึงผูกคอวัวควายมาทำเป็นเครื่องประดับ และที่สำคัญที่สุดที่ผีตาโขนหลายตัวประณีตบรรจงประดิดประดอยเป็นที่สุดก็คือ อาวุธของผีตาโขนเป็นดาบใหญ่ ทำด้วยไม้มีทีเด็ดของดาบอยู่ที่ปลายด้ามดาบที่ทำเป็นรูปปลัดขิกอันโต ทายอดกลม ๆ เป็นสีแดงแจ๋ เอาไว้ไล่จิ้มสาว ๆ ในเมืองโดยเฉพาะในภาคบ่ายจะเป็นพิธีการในฝ่ายราชการ เป็นการแห่ผีตาโขน โดยจัดรูปขบวนแห่ อันประกอบด้วยผีตาโขนใหญ่ ที่ทำเป็นหุ่นใหญ่คล้ายหัวโตของภาคกลาง และผีตาโขนเล็ก เป็นเด็ก ๆ ผู้ชายในเมืองเกือบทั้งหมด ภาคค่ำเป็นการชุมนุมกันฟังเทศน์มหาชาติของผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ใหญ่ในเมืองส่วนในวันที่สอง ตั้งแต่เช้าเป็นการออกอาละวาดไปทั่วเมืองของชาวผีตาโขน และตกช่วงบ่ายจะเป็นพิธีจุดบั้งไฟขอฝน เป็นอันหมดสิ้นประเพณีแห่ผีตาโขนรวม 2 วันกับหนึ่งคืนด้วยกัน

จุดเด่นของพิธีกรรม
      จุดเด่นที่สุดของงานนี้จะมีอยู่ด้วยกันสองช่วงคือ ภาคบ่ายวันแรกอันเป็นขบวนแห่ผีตาโขนอันน่าสนุกสนานและสวยงาม และวันที่สองช่วงสายที่ผีตาโขนจะออกอาละวาดไปทั่วเมือง

ต้นกำเนิดผีตาโขน      
       ที่มานั้นไม่ชัดเจน แต่กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ชนิดของผีตาโขน
 ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
     ผีตาโขนใหญ่  ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
     ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย
     ส่วนหัวหรือที่เรียกว่าหน้ากากนั้น ทำด้วย "หวด" หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาวแหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้น ๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน(หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่
     ด้านเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย นั้น เป็นชุดที่ทำจากเศษผ้านำมาเย็บติดกัน และมี "หมากกะแหล่ง" หรือกระดิ่ง (คล้ายกับที่แขวนคอโค, กระบือ) แขวนผูกไว้บริเวณเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะเวลาเดิน และส่ายสะโพก
     ส่วนประกอบสุดท้าย คือ ดาบหรือง้าว ที่จะทำจากไม้เนื้ออ่อน ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

การละเล่นผีตาโขน
       เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวม ๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน
       วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมา ถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง
        วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่
        วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต
        งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ส่วนเครื่องแต่งตัวประกอบของผีตาโขน
ส่วนเครื่องแต่งตัวประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของผีตาโขนคือ"หมากกะแหล่ง"และดาบไม้
      หมากกะแหล่ง คือเครื่องดนตรีรูปร่างคล้ายกระดิ่งหรือกระดึงแขวนคอวัว ผีตาโขนจะใช้หมากกะแหล่งแขวนติดบั้นเอวเมื่อเดินโยกตัวหรือเต้นเป็นจังหวะ ขย่มตัวสายสะโพกเสียงหมากกะแหล่งก็จะดังเสียงน่าฟังและน่าสนุกสนาน
     ดาบไม้  เป็นอาวุธประจำกายผีตาโขนไม่ได้เอาไว้รบกัน แต่เอาไว้ควงหลอกล่อและไล่จิ้มก้นสาวๆ ซึ่งก็จะร้องวิ๊ดว้ายหนีกันจ้าละหวั่น ทั้ง อายทั้งขำ แต่ไม่มีใครถือสา เพราะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา เหตุที่วิ่งหนีเพราะปลายดาบนั้นแกะสลักเป็นรูปอวัยวะเพศชายแถมทาสีแดงให้เห็นอย่างเด่นชัด การเล่นแบบนี้ไม่ถือเป็นเรื่องหยาบ หรือลามกเพราะมีความเชื่อกันว่าหากเล่นตลกและนำอวัยวะเพศชายหญิงมาเล่นมาโชว์ในพิธีแห่และงานบุญบั้งไฟจะทำให้พญาแถนพอใจ ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์
ไหว้พระธาตุแห่งสัจจะเยือนถิ่น ผีตาโขน
        กล่าวถึงวัฒนธรรมผีตาโขนคงหนีไม่พ้นแดนดินถิ่นอีสาน โดยเฉพาะถิ่นอีสานเหนือที่ชื่อว่า ด่านซ้าย  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดสืบต่อกันมาอย่างยาวนานนับร้อย ๆปี และยังคงเอกลักษณ์ความเป็นการละเล่นที่สวยงามเต็มไปด้วยพลังแห่งความเชื่อศรัทธาวัฒนธรรมและวิถีชีวิต หากวัฒนธรรมลูกอีสานมาจวบจนปัจจุบันเป็นทีรู้จักกันดีทั้งในและต่างประเทศ เป็นวัฒนธรรมที่ใครหลาย ๆคนอยากมาสัมผัสสักครั้งในชีวิต นอกจากเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมแล้ว ที่แห่งนี้ยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจองย่างยิ่งเคยเป็นดินแดนแห่งสัจจะและมีองค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเลยตั้งอยู่ก็คือองค์พระธาตุศรีสองรัก ซึ่งเป็นหนึ่งขององค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเข้ามา กราบไหว้ขอพรซักครั้งในชีวิตครับ  แม้วันนี้หมู หิน.คอม ไม่ได้เดินทางมาในช่างบุญหลวงหรือประเพณีการเล่นผีตาโขน แต่คราวนี้เราก็มีพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนให้ได้ชมกันแบบเต็มอิ่ม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาจนกลายเป็นสมบัติของท้องถิ่นที่ชาวด่านซ้ายเขาร่วมแรงร่วมใจกันรักษาไว้ให้คงอยู่กับสังคมไทยต่อไปครับ สุดยอดไปเลยพี่น้องเรา ชาวไทยด่านทริปนี้ หมูหิน.คอม พาเพื่อนๆ  มาเที่ยวชิมรางกันแบบเต็มอิ่มก่อนที่ประเพณีบุญหลวง หรือประเพณีเล่นผีตาโขนของชาวด่านซ้ายจะวนเวียนมาถึงอีกครั้งในปีนี้ครับ เราเริ่มด้วยการเข้าไปชมและศึกษาวัฒนธรรมผีตาโขนที่พิพิธภันฑ์ท้องถิ่นภายในวัดโพนชัย จากนั้นเดินทางเพียงไม่กี่ก้าวเพื่อไปกราบไหว้ขอพรองค์พระธาตุศรีสองรัก สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างลาวกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นองค์พระธาตุที่เชื่อกันว่าได้มาไหว้ขอพรแล้วจะสมดังใจปารถนา แต่คุณผู้หญิงต้องทำใจก่อนนะครับเพราะภายในบริเวณฐานองค์พระธาตุไม่อนุญาต ให้คุณผู้หญิงเข้าไปกราบไหว้ได้ ไหว้ขอพรได้เฉพาะด้านนอกเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญใช่ไหมครับ สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตใจอันบริสุทธิ์บวกกับพลังศรัทธาของเราเท่านั้นครับ ไปกันเลย
       พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย (ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดโพน) ตั้งอยู่บนเนินสูงทางทิศใต้ของอำเภอด่านซ้าย  ห่างจากลำน้ำหมันประมาณ  300  เมตร  สำหรับน้ำหมันตรงนั้น เรียกว่าวังเวิน บริเวณที่ตั้งวัดเป็นรูปเนิน มีเรื่องเล่าว่าดินเนินเป็นมูลขุยของพญานาค  มีรูจากศูนย์กลางลงไปที่ท่าวังเวิน  รูนี้เรียกว่ารูพญานาค  ที่รูนี้สมัยเก่าแก่ได้สร้างพระวิหารครอบเอาไว้ และสร้างพระพุทธรูปประธานองค์ใหญ่ตรงรูพญานาคนั้นไว้   วัดโพนชัย เป็นวัดคู่เมืองของอำเภอด่านซ้ายสร้างขึ้นพร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก  ประมาณ  พ.ศ. 2103 เข้าใจว่าพระเถระของกรุงศรีอโยธยา  5  ตน  และจากกรุงศรีสัตนาคณหุต  5  ตน ที่ทำสัตยาบัน (หล่อน้ำสัจจาตามศิลาจารึก) สร้างพระธาตุศรีสองรักได้มาพำนักอยู่ที่วัดนี้  จึงมีพระธาตุศรีสองรักจำลอง  อยู่ทางทิศใต้ของพระวิหาร  1  องค์ ขนาดกว้าง  3.75 เมตร  สูง  15  เมตร ที่วัดนี้มีการทำบุญมหาชาติในเดือน 7 หลังจากเสร็จงานพระธาตุศรีสองรักเป็นประจำทุกปีไม่ ชาวบ้านเรียกว่าบุญหลวง ในงานนี้จะมีผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนน้อยมาเล่นในงานนับร้อย ปัจจุบันวัดโพนชัยเป็นสถานที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน สถานที่จัดแสดงเป็นบ้านเรือนไม้ขนาดพอประมาณ ซึ่งชาวด่านซ้ายได้ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้น ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองด่านซ้าย นิทรรศการผีตาโขน การสาธิตทำหน้ากากผีตาโขนและมีสินค้าของที่ระลึกผีตาโขนในรูปแบบต่างๆ สามารถเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.
       ประเพณีผีตาโขนเป็นประเพณีการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงามน่าภูมิใจของชาวไทยด่าน หรือพี่น้องชาวด่านซ้ายในปัจจุบัน  เทศกาลงานบุญผีตาโขนเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญหลวง ซึ่งถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของชาวท้องถิ่น ซึ่งเป็นการรวมเอางานบุญพระเวสและบุญบั้งไฟเขามาไว้เป็นงานบุญเดียวกันและในช่างถึงงานบุญ ตามขบวนแห่และตามท้องถนน ในเมืองด่านซ้ายก็จะมีกองทัพผีตาโขนออกมาเต้นวาดลวดลายให้ชมกันอย่างมากมาย
       ที่มาของการแห่ผีตาโขนนั้น ชาวบ้านเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสดีไปเชิญเสด็จพระเวสสันดรกับพระ นางมัทรีกลับเมืองนั้น คนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดรได้ร่วมขบวนแห่แหนไป ด้วย ผีตาโขนก็คือภาพจำลองของคนป่าหรือผีป่าเหล่านั้นและมีการละเล่นสืบต่อกันจนถึงปัจจุบัน  ปัจจุบันงานแห่ผีตาโขนจึงจัดให้มีขึ้นในงานประเพณีบุญพระเวสและงานบุญบั้งไฟ ในช่วงเดือน 7  หรือราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ของทุกปี
        ผีตาโขนมีสองแบบ แบบแรกคือผีตาโขนเล็ก เป็นแบบที่เราเห็นชาวด่านซ้ายจำนวนมากแต่งร่วมไปในขบวนแห่ อีกแบบคือผีตาโขนใหญ่ เป็นหุ่นโครงไม้ไผ่สานขนาดใหญ่กว่าตัวคนประมาณ 2  เท่า เวลาแห่ต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่นแต่ละปีจะมีการทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2  ตัว เป็นเพศชาย 1  ตัว และหญิง 1 ตัว ส่วนหน้ากากผีตาโขนทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น คือหวดนึ่งข้าวเหนียวที่นำมาหักพับให้มีลักษณะคล้ายโครงหมวกเพื่อสวมครอบ ศีรษะได้ แล้วนำหน้ากากที่ทำจากส่วนโคนกาบมะพร้าวมาเย็บติดกับโครงหวด จากนั้นก็เจาะช่องตา ติดจมูก ติดเขา ตกแต่งให้สวยงามด้วยสีน้ำมันและเศษผ้าสีสันฉูดฉาดเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผีตาโขน คือดาบไม้และหมากกะแล่งลักษณะคล้ายกระดิ่งซึ่งจะแขวนไว้บริเวณบั้นเอว เมื่อผีตาโขนโยกตัวส่ายสะโพกจะเกิดเสียงดังเข้ากันเป็นจังหวะ
     หลังจากที่เราชื่นชมและศึกษาวัฒนธรรม พื้นบ้านอย่างผีตาโขนกันแบบถึงแก่นแล้ว เราก็เดินทางไปยังพระธาตุศรีสองรัก  ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอด่านซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น  พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้าง องค์พระธาตุสูง 19.19 เมตร ฐานกว้างด้านละ 10.89 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง องค์ระฆังทรง  บัวเหลี่ยม  คล้ายพระธาตุพนม พระธาตุหลวง (เวียงจันทน์)
        พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นถวายเป็นอุเทสิกเจดีย์ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 เสร็จในปี พ.ศ.2106 พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระมหาจักรพรรดิ)และกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  สมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพื่อขยายอำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงเห็นตรงกันที่จะรวมกำลังเป็นพันธมิตร เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ทรงร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองอาณาจักร โดยการสร้างเจดีย์ขึ้นและให้ใช้ชื่อว่า  พระธาตุศรีสองรัก ซึ่งตั้งเด่นเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ มาจนถึงปัจจุบัน
        พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนตั้งอยู่ภายในวัดโพนชัย ตั้งอยู่ที่เลขที่  85 บ้านเดิ่น ถนนแก้วอาสา หมู่ที่3  อ.ด่านซ้าย  จ.เลย พระธาตุศรีสองรัก ตั้งอยู่ที่รัก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอด่านซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร
        การเดินทาง สู่ อ.ด่านซ้ายก็ไม่ยากครับ เดินทางสะดวกสบายตลอดเส้นทางเดินทางโดยรถยนต์ เดินทางมาจากเพชรบูรณ์ ใช้เส้นทางหมายเลข 21 ผ่าน อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จากนั้นเดินทางบนทางหมายเลข 203 สู่ อ.ด่านซ้าย  เดินทางมาจากพิษณุโลก ใช่ทางหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหมายเลข 2013 ผ่านอ.นครไทยมุ่งสู่ อ.ด่านซ้ายได้เลย ครับ

วัฒนธรรมและประเพณีของไทย นางสาวอมลวรรณ มีศรีสวัสดิ์


   ๑ ความหมายของวัฒนธรรม
 ในด้านภาษาศาสตร์
คำว่า วัฒนธรรม มาจากภาษาอังกฤษ คำว่า “ Culture ” คำนี้มีรากศัพท์มาจาก “ Cultura ” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง (อานนท์ อาภาภิรม, 2519: 99) ซึ่งอธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงามในด้านภาษาศาสตร์ วัฒนธรรมเป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ ๒ คำเข้าด้วยกัน ได้แก่                                                                                                                -วัฒนะ หรือ วัฒน หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง -ธรรมะ หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ ฉะนั้น เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมตามความหมายนี้จึงหมายถึง ความเป็นระเบียบ การมีวินัย เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลหนึ่งว่า เป็นคนมีวัฒนธรรม ก็มักจะหมายความว่า เป็นที่มีระเบียบวินัย เป็นต้น
 ในด้านสังคมศาสตร์
วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก กล่าวคือ วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (WAY OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น
 ในด้านนิติศาสตร์แบบไทย
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๓ (บรรจง สกุลชาติ. ๒๕๒๖: ๕๖) กล่าวไว้ดังนี้
วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชนความหมายนี้ ทางราชการและวงการทั่วไปยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการไทยบางท่านได้ให้ความหมายวัฒนธรรมคล้าย ๆ กัน เช่น
พระยาอนุมานราชธน
ทรงกล่าวว่า วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้เอาอย่างกันได้ (พระยาอนุมานราชธน. ม.ป.ป. : ๖)
 อุทัย หิรัญโต
กล่าวว่า วัฒนธรรมคือ มรดกทางสังคมที่ได้ตกทอดมาเป็นสมบัติของมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน และนำมาใช้ในการครองชีวิตเป็นแบบแผนแห่งการครองชีวิต (Design of Living) หมายความว่า วัฒนธรรมเป็นแบบฉบับที่ทำการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ไปว่าจะต้องทำอย่างไร และทำอย่างไร คิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร อะไรดี อะไรชั่ว วัฒนธรรมมิได้หมายความถึงการเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติงานได้เหมาะสม หือความเป็นผู้มีจิตใจสูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างและรับมาปฏิบัติสืบต่อมา
 ยุทธ ศักดิ์เดชยันต์
ได้กล่าวว่า วัฒนธรรม รวมถึงความคิด และแบบแผนพฤติกรรมทุกอย่างที่ตกทอดสืบต่อกันมาโดยทางการสื่อสารหรือส่งสัญลักษณ์ ไม่ตกทอดโดยกรรมพันธุ์ เราเรียนรู้ วัฒนธรรมโดยอาศัยคำพูด ท่าทาง เช่น การที่นกรู้สร้างรังได้นั้นเป็นการตกทอดทางกรรมพันธุ์ แต่การที่มนุษย์รู้จักสร้างบ้านพันที่อยู่อาศัยนั้นเป็นถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
จากความหมายของวัฒนธรรมทั้งในด้านทั่ว ๆ ไป ด้านภาษาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ และนักวิชาการบางท่านได้กล่าวไว้ อาจหลอมรวมเข้าด้วยกันและสรุปได้คือ วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตมนุษย์ในสังคมของกลุ่มดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้สร้างสงระเบียบ กฎเกณฑ์วิธีในการปฏิบัติ รวมทั้งการจัดระเบียบ ตลอดจนระบบความ ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยได้วิวัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างมีแบบแผน
๒ ความสำคัญของวัฒนธรรม
         วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญดังนี้
๒.๑ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน                                      
๒.๒ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์                                                                
๒.๓ วัฒนธรรมช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมายของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อ ชาวไทยมองเห็นเหมือนรูปกระต่าย
๒.๔ วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย ๔ เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย การรักษาโรค                                    

 ๒.๕ วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ                                                                                                                  
๒.๖ เป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่าง ในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง
๓ วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ                                                                                                                   
วัฒนธรรมไทยที่สำคัญจนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งนานาชาติยกย่องและคนไทยมีความภาคภูมิใจมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่
๓.๑ภาษาไทย ไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ.๑๘๒๖ และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
       ๓.๒ ศาสนา พลเมืองไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านานแล้ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านอื่นๆ คนไทยได้ยึดถือเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอยู่เสมอ
๓.๓การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก หรือตามแฟชั่นที่แพร่หลายเข้ามา แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม
๓.๔ ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ วรรณกรรม
๔ ประเภทของวัฒนธรรม
๔.๑ โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๔.๑.๑ วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material Culture)ซึ่งได้แก่สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
๔.๑.๒ วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non – material Culture)หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิด ภาษา ความเชื่อทางศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธีการกระทำ และแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้
๔.๒ การแบ่งประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น ๒ ประเภท ดังกล่าวข้างต้น นักสังคมวิทยาบางท่านเห็นว่า แนวคิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุนั้นคลุมเครือ จึงได้แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ คือ
๔.๒.๑ วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material)ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค
๔.๒.๒ วัฒนธรรมความคิด (Idea)หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ความเชื่อต่าง ๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม การเชื่อถือโชคลาง ตลอดจนเรื่องลึกลับ นิยายปรัมปรา วรรณคดี สุภาษิต และอุดมการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
๔.๒.๓ วัฒนธรรมด้านบรรทัดฐาน (Norm)เป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้
-วัฒนธรรมทางสังคม (Social Culture) เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความประพฤติ หรือมารยาททางสังคม เช่น การไหว้ กาจับมือทักทาย การเข้าแถว การแต่งชุดดำไปงานศพ เป็นต้น
- วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (Legal Culture) เป็นวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบและกฎเกณฑ์เพื่อให้คนในสังคมอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
- วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับจิตใจและศีลธรรม (Moral Culture) วัฒนธรรมประเภทนี้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น
๔.๓ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ได้แบ่งประเภทวัฒนธรรมออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
๔.๓.๑ คติธรรม (Moral)คือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่เป็นของจิตใจ และได้มาจากศาสนา ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของสังคม เช่น ความเสียสละ ความขยัน หมั่นเพียร การประหยัดอดออกม ความกตัญญู ความอดทน ทำดีได้ดี เป็นต้น
๔.๓.๒ เนติธรรม (Legal)คือวัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญพอ ๆ กับกฎหมาย เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
๔.๓.๓ สหธรรม (Social)คือวัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งมารยาทต่าง ๆ ที่จะติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคม เช่น มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในการติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
๔.๓.๔ วัตถุธรรม (Material)คือวัฒนธรรมทางงวัตถุ เช่น เคราองนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านเรือน อาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ สะพาน ถนน รถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
๔.๔ ปัจจุบันเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แบ่งออกเป็น ๕ สาขา คือ
๔.๔.๑ สาขามนุษย์ศาสตร์ ได้แก่ ขนบธรรมประเพณี คุณธรรม ศีลธรรม ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มารยาทในสังคม การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น
๔.๔.๒ สาขาศิลปะ ได้แก่ ภาษา วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น
๔.๔.๓ สาขาช่างฝีมือ ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอผ้า การจัดสาน การทำเครื่องเขิน การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง การจัดดอกไม้ การประดิษฐ์ การทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
๔.๔.๔ สาขาหกรรมศิลป์ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหาร การประกอบอาหาร ความรู้เรื่องการแต่งกาย การอบรมเลี้ยงดูเด็ก การดูแลบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ความรู้เรื่องบา การรู้จักใช้ยา ความรู้ในการอยู่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นต้น
๔.๔.๕ สาขากีฬาและนันทนาการ ได้แก่ การละเล่น มวยไทย ฟันดาบสอบมือ กระบี่กระบอง การเลี้ยงนกเขา ไม้ดัดต่าง ๆ เป็นต้น
๕ องค์ประกอบของวัฒนธรรม
๕.๑ องค์ประกอบของวัฒนธรรมโดยทั่วไป มี ๔ ประการ คือ
๕.๑.๑ องค์มติ (Concept)หมายถึง ความเชื่อ ความคิด ความเข้าใจ และอุดมการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติ การยอมรับว่าสิ่งใดถูกหรือผิดสมควรหรือไม่ซึ่งแล้วแต่ว่ากลุ่มใดจะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน (Normal)ในการตัดสินใจหรือเป็นเครื่องวัด เช่น ความเชื่อในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
๕.๑.๒ องค์พิธีการ (Usage)หมายถึง ขนมธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และแสดงออกมาในรูปพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีศพ มักจะได้รับอิทธิพลจากศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตลอดจนพิธีการแต่งกาย และการับประทานอาหาร เช่น การแต่งกายเครื่องแบบของทางราชการ หรือการแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศในงานรัฐพิธีต่าง ๆ เป็นต้น
๕.๑.๓ องค์การ (Association or Organization)หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ วีวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินงานไว้เป็นที่แน่นอน เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญที่สุดในสังคม ซับซ้อน (Complex Society) เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การที่ใหญ่ที่สุด สมาคมอาเซียน สหพันธ์กรรมกร หน่วยราชการ โรงเรียน วัด จนถึงครอบครัว ซึ่งเป็นองค์การที่มีขนาดเล็กที่สุดและใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด
๕.๑.๔ องค์วัตถุ (Instrumental and Symbolic Objects) เป็นวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ มีรูปร่างที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ เช่น บ้าน โรงเรียน ถนน เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ อาวุธ ตลอดจนผลผลิตทางด้านศิลปกรรมของมนุษย์
๖ หน้าที่ของวัฒนธรรม
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคม ซึ่งได้สืบทอดต่อมายังชนรุ่นหลัง วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มสังคม ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสังคม หรือที่ใดมีวัฒนธรรมที่นั่นก็มีสังคม ที่ใดมีสังคมที่นั่นก็มี วัฒนธรรม เท่ากับเป็นของสิ่งเดียวกันที่มีสองด้านแยกกันในทางปฏิบัติไม่ได้ หน้าที่ของวัฒนธรรมที่พึงมีต่อสังคมพอสรุปได้ดังนี้
๖.๑ เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวว่า ชายจะมีภรรยาได้กี่คน หรือ หญิงจะมีสามีได้กี่คน เป็นต้น
๖.๒ เป็นตัวกำหนดบทบาท ความสัมพันธ์ของมนุษย์ เช่น ในสังคมไทยผู้ชายจะบวชเรียนเมื่อมีอายุครบ ๒๐ปี หรือการที่เด็กต้องแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่หรือผู้มีอายุมากกว่า เป็นต้น
๖.๓ ทำหน้าที่ควบคุมสังคม เช่น การมีประเพณีต่าง ๆ ให้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับการตำหนิจากสังคม เช่น การกระทำของหญิงที่หนีตามผู้ชาย โดยไม่มีการสู่ขอตามประเพณีนั้น เป็นการสมควรที่จะได้รับการตำหนิจากสังคม เพื่อนบ้าน อาจจะไม่คบค้าสมาคมด้วย ฯลฯ เป็นต้น
๖.๔ ทำหน้าที่เป็นเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น สังคมไทยทักทายด้วยการไหว้ สังคมธิเบตทักทายด้วยการแลบลิ้น สังคมตะวันตกทักทายด้วยการจับมือ เป็นต้น
๖.๕ ทำให้เกิดความเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เกิดเป็นปึกแผ่นความจงรักภักดี และอุทิศตนให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่รอด
๖.๖ วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและหล่อหลอมบุคลิกภาพของสังคมให้กับสมาชิกทำให้สมาชิกแต่ละคนและแต่ละสังคมได้ตระหนักถึงความหมายและวัตถุประสงค์ ของการมีชีวิตของคน เช่น สังคมไทยพุทธเชื่อว่าเกิดมาแล้วต้องชดใช้กรรม ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับชีวิตของคน เขาก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม
๖.๗ สร้างหรือจัดรูปแบบความประพฤติและการปฏิบัติร่วมกัน โดยบุคคลไม่จำเป็นต้องคิดหาวิธีประพฤติปฏิบัติโดยไม่จำเป็น รูปแบบความประพฤติที่สังคมเคยกระทำอย่างไร หน้าที่ของสมาชิกในสังคมก็คือ การปฏิบัติตาม
๗ ลักษณะของวัฒนธรรม
          เพื่อที่จะให้เข้าใจเรื่องของวัฒนธรรมได้อย่างลึกซึ้ง จึงขออธิบายถึงลักษณะของวัฒนธรรมโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะอธิบายได้ดังนี้
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมมนุษย์ อีกนัยหนึ่งคือ มนุษย์จะอยู่โดยปราศจากวัฒนธรรมไม่ได้หรือ วัฒนธรรมกับมนุษย์จะต้องอยู่ควบคู่กันไป เสมือนเงากับตัวทิ้งกันไม่ได้วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด และไม่ใช่สิ่งที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นนิสัยและความสามารถต่าง ๆ ของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเรียนรู้หรือขบวนการสังคมกรณ์(Socialzation)วัฒนธรรมของแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันและคามแตกต่างนี้ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดดีกว่ากัน เพราะวัฒนธรรมแต่ละวัฒนธรรมย่อมมีความเหมาะสมถูกต้องตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสังคม แนวความคิดที่ว่า วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมมีส่วนดีเป็นของตนเอง ซึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมสัมพันธ์แนวความคิดนี้มุ่งที่จะลบล้างความคิดเห็นที่ว่า วัฒนธรรมของตนดีกว่าวัฒนธรรมของคนอื่น (Ethnocentrism)
 วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นไปได้ ๒ วิธีคือ
- การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในวัฒนธรรมเอง เช่น การประดิษฐ์คิดค้น
- การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอก เช่น การติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น เป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมอื่น ๆ มาใช้
 วัฒนธรรมเป็นผลรวมของแบบแผนและแนวการดำเนินชีวิตของปลาย ๆ อย่างในสังคมเข้าด้วยกัน ถ้าสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบอย่างเดียวกันเรียกวัฒนธรรมนั้นว่า วัฒนธรรมใหญ่หรือ วัฒนธรรมรวมและภายหลังวัฒนธรรมใหญ่ยังแบ่งเป็น วัฒนธรรมย่อยหรือ วัฒนธรรมรองด้วย
๘ ที่มาของวัฒนธรรม
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า วัฒนธรรมมีในสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์ไม่มีวัฒนธรรมเหมือนมนุษย์ หรือสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาไม่ได้ แต่มีมนุษย์มีวัฒนธรรม หรือสร้างวัฒนธรรมได้นั้น สาเหตุมาจากเปรียบเทียบกับสัตว์ ในการมองสิ่งต่าง ๆ มีความสามารถใช้มือและนิ้วอย่างอิสระ มีอายุยืนยาว มีมันสมองที่สามารถคิดค้นเรียนรู้ได้ดี และสามารถ่ายทอดโดยใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน มีความสามารถในการคิดพิจารณาไตร่ตรอง มีความจำ มีการทดลองค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือการอยู่ร่วมกันได้ดี สิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
แนวคิดเรื่องที่มาของวัฒนธรรมนี้ ได้มีผู้รู้ให้แนวคิดแตกแยกออกไปหลายทางด้วยกัน แต่มีแนวความคิดที่สำคัญอยู่ ๒ ทางด้วยกัน คือ
ทฤษฎี Parallelism ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า วัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์คล้ายันมาก ฉะนั้นจึงมีความคิดที่คล้ายกัน มนุษย์ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ย่อมสามารถก่อสร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมาได้ จะเห็นได้จากการประดิษฐ์สิ่งของอย่างเดียวกันในสถานที่ต่างกัน จะแตกต่างกันเฉพาะในรูปลักษณะของการประดิษฐ์สิ่งนั้น ๆ เช่น ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำก็มักจะสร้างเรือเป็นพาหนะในชีวิตประจำวันของตน รูปร่างของเรืออาจจะแตกต่างกัน แต่ประโยชน์ใช้สอยเหมือนกัน
ทฤษฎี Diffusionismทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าวัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว และแพร่กระจายไปในชุมชนต่าง ๆ อาจเป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปหรือแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยจากการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ หรือเกิดสถาบันใหม่ โดยที่สถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ห่างไกลได้นำวัฒนธรรมนั้นไปดัดแปลงใช้จนกระทั่ววัฒนธรรมนั้นแพร่หลายครอบคลุมไปทั่วโลก กลไกลของการแพร่กระจายวัฒนธรรมนี้ได้แก่ การอพยพล่าอาณานิคม การทำสงคราม การเผแพร่ศาสนา การติดต่อการค้าขาย เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะแพร่หลาย แต่ก็มิได้ราบรื่นโดยตลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ชุมชนอยู่ห่างไกลเกินไป ประชาชนเกิดการต่อต้านวัฒนธรรมใหม่ เพราะยังมิเห็นถึงประโยชน์ หรือ อาจจะต่อต้านเพราะเห็นว่าวัฒนธรรมที่มีอยู่มีคุณค่ามีประโยชน์แล้ว หรือรู้สึกว่าขัดกับลักษณะของวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามา เช่น ในกรณีสังคมไทยซึ่งได้รับอิทธิพลจากสังคมตะวันตกในเรื่องการดื่มน้ำชา กาแฟ แต่ยังไม่แพร่หลายในหมู่คนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชนบทยังนิยมกินหมากหรืออมเมี่ยงอยู่ เพราะแต่ละชุมชนเคยชินกับวัฒนธรรมของตนและเห็นว่ามีคุณค่าเหมือนกัน และใช้แทนกันได้อยู่แล้ว
๙ ประเพณี       
         เอกลักษณ์ของประเพณีไทย ได้แก่การผสมผสานทั้งลัทธิ ผีสางเทวดา ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกแก่การศึกษาและปฏิบัติ เราอาจแบ่งประเพณีต่าง ๆ ออกเป็น ๓ ด้าน ดังนี้
๙.๑ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
เป็นประเพณีเกี่ยวกับการส่งเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเอง ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความสุขทางจิตใจ เป็นการสร้างบุญกุศลให้กับชีวิตในโอกาสต่าง ๆ เช่น การเกิด การตาย การบวช การแต่งงาน และการทำบุญในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
๑) ประเพณีการเกิด การเกิดเป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสำคัญ ส่วนจะมีพิธีรีตองมากน้อยเพียงไรก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน หรือสังคมที่ตนอยู่ร่วมด้วย คนสมัยก่อนทำพิธีต่างๆก็เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้สอดคล้องได้ง่าย แม่จะได้ไม่เป็นอันตรายถึงตาย เพื่อคุ้มครองปกปักษ์รักษาทารกที่คลอดให้ออกมาโดยปลอดภัยเนื่องจากในระยะนี้เด็กมีร่างกายบอบบางอ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ำ
                  แต่เดิมมีความเชื่อว่า การทำพิธีเกิดจะช่วยป้องกันปัดเป่าผีร้ายที่จะมาทำอันตรายแก่ทารกและแม่เพราะวิทยาการต่างๆ ในสมัยนั้นยังไม่เจริญ คนจึงไปเชื่อในสิ่งลึกลับ เช่น เชื่อว่าผีบันดาลให้เป็นเช่นนั้น ต่อมาเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น พอจะเข้าใจถึงความ เป็นไปต่าง ๆ ความเชื่อในเรื่องผีค่อย ๆ หมดไป แต่ชนบางพวกบางกลุ่มก็ยังนิยมปฏิบัติที่เขาทำ เช่นนั้นก็เพื่อความสบายใจหรือเขาทำให้เพราะท้องถิ่นที่เขาอยู่เห็นว่าควรทำ ไม่ทำจะเดือดร้อน แก่คนส่วนใหญ่ เขาจึงทำตามเพื่อไม่ได้ผิดประเพณี และดูเป็นคนนอกรีตนอกรอยไป
                  พิธีการเกิดนี้จึงเป็นข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติของ หญิงที่กำลังจะเป็นแม่คน เริ่มตั้งครรภ์ เจ็บท้อง พอหลังคลอด ก็ต้องมีพิธีตัดสายสะดือ อาบน้ำ ฝังรกเด็ก โดยเฉพาะในสมัยโบราณการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าอย่างปัจจุบัน อัตราการตายของทารก แรกเกิดอยู่ในระดับสูง คนสมัยก่อนบางกลุ่มเชื่อว่าผีมาเอาตัวเด็กไป พ่อแม่จึงต้องทำบุญเด็กเป็นระยะ ๆ ตามวัย เช่น ทำขวัญโกนผมไฟ พิธีลงอู่ ตั้งชื่อ ทำขวัญเด็ก ปูเปลเด็ก โกนจุก (ถ้าไว้จุก)
            ๒) ประเพณีการบวช การบวชถือเป็นสิ่งที่ช่วยอบรมสั่งสอน ให้เป็นคนดี ตลอดจนเป็นการทดแทนคุณพ่อแม่ที่ให้กำเนิดเพื่อให้พ่อแม่เป็นสุข และตัวผู้บวชเองก็จะได้มีโอกาสศึกษาธรรมวินัย สวดมนต์ภาวนาทำใจให้สงบ เป็นต้น
การบวชมี ๒ แบบ คือ
บรรพชา (บวชเณร)      
เด็กชายที่จะบวชเป็นสามเณรได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป สมัยก่อนการบวชเณรเป็นการฝากลูกให้พระดูแลอบรมสั่งสอน เพราะวัดเป็นเสมือนโรงเรียนหรือสถานที่สอนคนให้เป็นคนดี แต่สมัยนี้การบวชมักเป็นการบวชเพื่อแก้บน บวชหน้าศพ บวชเพื่อศึกษาธรรมวินัย
การอุปสมบท (บวชพระ)
ชายที่จะบวชได้ต้องมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ การอุปสมบทเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปี เป็นวัยที่เข้าเขตผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และเข้าใจภาวะผันแปรต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นหลักแห่งความจริงในโลก เพราะสอนให้ มนุษย์รู้สาเหตุของความทุกข์และความสุข ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว แม้ว่าในปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดไม่ได้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาดังแต่ก่อน เพราะมีสถาบันการศึกษา อย่างเป็นทางการ เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย แทนวัด วัดจึงกลายความสำคัญ ในแง่การถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นทางการ การบวชพระจึงลดน้อยลงโดยเฉพาะในตัวเมือง แต่ในชนบทยังคงยึดถือเป็นประเพณีอยู่ต่อไป
๓)ประเพณีการแต่งงาน
                  การแต่งงานเกิดขึ้นภายหลังเมื่อผู้ชายได้บวชเรียนแล้ว เพราะ เป็นเวลาที่ได้เรียนรู้มนุษยธรรมแล้วตามทางที่ชอบ จนถึงเวลาที่คิดตั้งตนและวงศ์ตระกูลเองได้ เมื่อเลือกหาหญิงดีตามสมควรแก่ฐานะแล้วฝ่ายชายก็ให้ผู้ใหญ่ช่วยจัดการสู่ขอต่อผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงเป็นการประกันสัญญาว่าจะไม่ทิ้งขว้างหย่าร้าง
                  การแต่งงานเป็นการตั้งตน คือ ทั้งชายและหญิงต่างก็จะเป็น พ่อบ้านและแม่บ้านต่างรู้หน้าที่ของตน คือเป็นเวลาที่พ้นอกพ่อแม่ จึงจำเป็นต้องให้มีบ้านเรือน ด้วยเหตุนี้เมื่อหมั้นกันแล้วผู้ใหญ่จึงมักจะจัดการตกลงกันปลูกเรือน เรียกว่าเรือนหอ เมื่อปลูก เรือนหอแล้วก็ต้องมีงานขึ้นเรือน ฉะนั้นในงานแต่งงานจึงมักจะตั้งต้นด้วยการขึ้นเรือน คือ มีสวดมนต์เย็น รุ่งขึ้นเช้าก็เลี้ยงพระให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวใส่บาตรด้วยกัน เพื่อแสดงว่าร่วมศาสนากัน เมื่อพระฉันเสร็จและถวายของแล้ว พระองค์หนึ่งก็พรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ทั่วทั้งเรือนและทุกคน ครั้นถึงเวลาเย็นก็มีการรดน้ำเจ้าบ่าวเจ้าสาว เสร็จการรดนำให้พรแล้วก็มีการเลี้ยงแขกูที่มาร่วมงาน บางรายก็มีพิณพาทย์หรือมโหรีในตอนนี้ไปจนถึงเวลาฤกษ์ปูที่นอน เมื่อถึงฤกษ์ผู้ใหญ่คู่หนึ่ง ซึ่งมักเชิญผู้ที่ได้แต่งงานอยู่ด้วยความผาสุก เข้าไปในห้องจัดการปูที่นอนให้พรแก่คู่บ่าวสาว เป็นอันเสร็จ พิธี
๔)ประเพณีการเผาศพ
                  ตามคติของพระพุทธศาสนา ถือตามความจริงที่ว่าร่างกาย มนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน (เนื้อ หนัง กระดูก) น้ำ (เลือด เหงื่อ น้ำลาย) ไฟ (ความร้อน ความอบอุ่นในตัว) ลม (อากาศหายใจเข้าออก) ฉะนั้นเมื่อชีวิตสิ้นไปแล้ว สังขารที่เหลืออยู่จึงไม่มีประโยชน์อันใด การเผาเสียจึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้ผู้อยู่เบื้องหลังไม่มีห่วงใย ทำให้หมดเชื้อโรคด้วย ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาโดยมากจึงมักเก็บศพไว้ทำบุญให้ทานชั่วคราวเพื่อบรรเทาความโศกเศร้า เมื่อคลายความโศกเศร้าแล้ว และเห็นความจริงที่ว่าความตายเป็นของธรรมดา ก็มักจะคิดถึงการเผาศพซึ่งเป็นพิธีสุดท้ายของชีวิตมนุษย์โดยปกติมักทำการเผาศพหลังจากทำบุญ ๑๐๐ วันแล้ว เพราะได้ทำบุญให้ทานครบถ้วนตามที่ควรแล้ว
๙.๒ ประเพณีเกี่ยวกับสังคม
เป็นประเพณีที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติร่วมกัน มีดังนี้
๑.       ประเพณีสงกรานต์
                  วันสงกรานต์ คือวันขึ้นปีใหม่ตามทางสุริยะคติ หมายความว่า นับตามทางพระอาทิตย์ กล่าวคือโลกที่เราอยู่หมุนไป ๑ รอบดวงอาทิตย์ก็เป็น ๑ ปี ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน ตรงกับเวลาฤดูร้อนทางประเทศตะวันออก ไทยเราได้ประเพณีนี้มาจากมอญ
             วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางราชการจึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่เพื่อให้ เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติกัน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยัง ยึดถือว่าวันสงกรานต์มีความสำคัญ
                  การรดน้ำสาดน้ำในวันสงกรานต์นั้น เนื่องจากเป็นเวลาฤดูร้อน จึงให้พรกันด้วยน้ำเพื่อให้ร่มเย็นเป็นสุขก่อนถึงวันสงกรานต์มักจะมีการเตรียมอาหารคาวหวานสำหรับทำบุญ อาหารที่เตรียมไว้ ได้แก่ อาหารคาว มักมีขนมจีนเป็นหลัก ส่วนอาหารหวาน มักมีกะละแมเป็นหลัก นอกจากนี้จะมีการทำความสะอาดพระพุทธรูป หิ้งบูชา ตลอดจนทำความ สะอาดบ้านเรือนทั้งภายในบ้านและนอกรั้วบ้าน
           ในตอนเช้าของวันที่ ๑๓ เมษายน จะมีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ และบังสกุลกระดูกของบรรพบุรุษ เสร็จแล้วจึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือผู้มีพระคุณ สรงน้ำพระ แห่พระ ชักพระ รดน้ำผู้ใหญ่ รับศีลรับพรจากท่าน ในเมืองบางแห่ง อาจจะมีมหรสพต่าง ๆ เพื่อความรื่นเริง หรือมีการปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อโปรดสัตว์     บางแห่งก็ อาจ จะมีการประกวดเทพีสงกรานต์ขึ้นด้วย เพื่อความสนุกสนาน
๒. ประเพณีทำบุญวันสารท
                  คนไทยถือเอาวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบ หรือวันสิ้นเดือนสิบ เป็นวัน ทำบุญกลางพรรษาและเรียกการทำบุญในวันนี้ว่า "ทำบุญวันสารท"
                  "สารท" เป็นคำมาจากภาษาอินเดียที่หมายถึง ฤดูสารทหรือฤดู ที่พืชพันธ์ธัญชาติเริ่มสุก ชาวอินเดียถือว่าควรมีพิธีรื่นเริงยินดี และทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเขา เพื่อให้พืชพันธ์ธัญญาหารเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ต่อไป แต่ในเทศกาลวันสารทของไทย เป็นฤดูที่ข้าวเพิ่งแตกรวง ชาวบ้านจึงปลูกข้าวเหนียวไว้เพื่อให้ทันเก็บเกี่ยวแล้วนำข้าวเหนียวนั้นมาตำเป็น ข้าวเท่า นำมากวนกับข้าวตอก ถั่ว งา มะพร้าว และน้ำตาล เรียกว่า "กระยาสารท"  (ปัจจุบันการ กวนพระสารทเขาใช้น้ำอ้อยและนมสดผสมด้วย  เพื่อให้เกิดความมันและหอมหวานอร่อยยิ่งขึ้น) เมื่อกวนกระยาสารทเสร็จแล้วก็จัดแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้วเอาใบตองห่อ (ปัจจุบันไม่ใช้ใบตองแล้ว ใช้ถุงพลาสติกแทน) เพื่อนำไปตักบาตรถวายพระในวันสารท ทำบุญเสร็จแล้วก็กรวดน้ำ อุทิศส่วน กุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือกันว่าถ้าไม่ได้ทำบุญตักบาตร "กระยาสารท" ผีปู่ย่าตายายที่ตายไปจะได้รับความเดือดร้อน อด ๆ อยาก ๆ เท่ากับลูกหลานที่อยู่หลังขาดการกตัญญู ต่อบุพการี ส่วนพระสงฆ์รับบาตรกระยาสารทในวันนั้นแล้วเมื่อฉันเสร็จก็ฉันพระยาสารทเป็น ของ หวานในวันสารท ทางวัดจะจัดโต๊ะและตั้งบาตรวางเรียงเป็นแถวสำหรับให้ชาวบ้านที่มาทำบุญตักบาตรนำห่อกระยาสารทใส่ลงในบาตร  ประเพณีตักบาตรอย่างนี้สมัยก่อนเรียกว่า "ตักบาตร ธารณะ"
             ๓. ประเพณีลอยกระทง
 ประเพณีลอยกระทงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เชื่อกันว่างาน ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่กล่าวว่า "เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนย่อมวนเสียดกัน เข้ามาดูท่าน เผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก" นอกจากนี้ยังปรากฏในหนังสือนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย    ผู้คิดทำโคมลอยเป็นรูปดอกกุมุท (ดอกบัว) ที่งามยิ่งกว่าโคมลอยของพระสนมกำนัลทั้งปวง ทำให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า เป็นอย่างมากถึงกับทรงบัญญัติว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง(ลอยกระทงใน ปัจจุบัน) ในปี ต่อ ๆ ไปให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวตามแบบอย่างของนางนพมาศ      ซึ่งพิธีจอง เปรียง นี้รวมไปพิธีลอยกระทงและตามประทีปด้วย
การตามประทีป เป็นการจุดเพื่อบูชาพระพุทธรูป พระเจดีย์ตาม พุทธศาสนาต่าง ๆ และเป็นการบูชาเทพเจ้าตามเทวสถาน หรือสิ่งที่เคารพนับถือ ในพิธีกรรมสำคัญ หรือในวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ ตามแบบอย่างของชาวชมพูทวีปที่ได้นำมาปรับปรุง ประยุกต์ให้เข้ากับพุทธศาสนาอย่างกลมกลืน
    การจุดประทีป หรือการตามประทีป ในสมัยกรุงสุโขทัยจะจุดจากภาชนะที่เรียกว่า "ตะคัน" ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปร่างคล้ายจานหรือถ้วยแต่เล็กกว่า ข้างในบรรจุเชื้อเพลิงที่เป็น ขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ต่างๆ และเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในสมัยนั้น โดยเรียกการจุดประทีปนี้ว่า "การเผาเทียน"
๙.๓ ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
             ประเพณีทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนามีรากฐานมาจากความเชื่อในศาสนา ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงได้มีการปฏิบัติตามวันสำคัญทางศาสนาดังนี้
             ๑)วันพระ
เป็นวันสำคัญของทางศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ขึ้น ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำของทุกเดือน จะมีการทำบุญฟังเทศน์ที่วัดจะมี ๔ วันใน ๑ เดือน ตามวันขึ้น-แรมของทุกเดือนที่กล่าวแล้ว เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญกุศล ชำระ ร่างกาย จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ และเจ้ากรรมนายเวรของตน จิตใจ จะได้สดชื่น แจ่มใส ปราศจากความทุกข์ หรือให้ลดความทุกข์ กิเลส เศร้าหมองลง เพราะมีความเชื่อจากเรื่องของกฎแห่งกรรมนั่นเอง
            ๒) วันมาฆบูชา
ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันทำบุญเพื่อระลึกถึงสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันนี้เป็นวัน คล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ นับว่าเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง เรียกวันดังกล่าวว่า"จาตุรงคสันนิบาต"หรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าปลงสังขาร  ซึ่งประกอบด้วย องค์ ๔ คือ
                  ๑.  พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐รูป มาประชุมกันเข้าเฝ้าพระ พุทธเจ้าที่เวฬุวัน กรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมายแต่อย่างใด
                  ๒.  พระภิกษุเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
                  ๓.  พระภิกษุเหล่านี้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรง บวชให้ทั้งสิ้น
                  ๔.  ในวันนั้น เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง หรือเสวยมาฆะฤกษ์   
๓) วันวิสาขบูชา
            ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีความ สำคัญวันหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันนี้ชาวพุทธได้มีการทำบุญถวายอาหารรับศีล ฟังธรรม รักษาศีลอุโบสถ ตอนกลางคืนมีการเวียนเทียน
๔) วันอาสาฬหบูชา
              ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ วันนี้มี ปรากฏการณ์ที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
                  ๑)  เป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในโลก
                  ๒)  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา   "ธรรม จักรกัปปวัฒนสูตร" แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
                  ๓)  เป็นวันแรกที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรก   บังเกิดขึ้นในโลก พระอัญญาโกณทัญญะ ได้รับเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา
                  ในประเทศไทยเริ่มมีวันอาสาฬหบูชา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑โดยคณะสังฆมนตรีได้กำหนดขึ้น สำหรับวันนี้เรียกอีกอย่างว่า "วันธรรมจักร" พุทธศาสนิกชน ได้มี การทำบุญตักบาตร รับศีล ฟังเทศน์ เวียนเทียน เช่นเดียวกับวันมาฆบูชา วิสาขบูชา
๕) วันเข้าพรรษา
            ตรงกันวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งพระสงฆ์จะต้อง อยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ รวมเวลา ๓ เดือนเต็ม
                  ในระยะเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตาม พุทธบัญญัติ นิยมบวชพระส่วน ผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผุ้ปกครองจะนำไปฝากพระ โดยบวชเณรบ้าง เป็นลูกศิษย์วัดบ้าง พุทธศาสนิกชนอื่น ๆ นิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด รับอุโบสถศีล ฟังธรรม ปัจจุบันนี้ยังเพิ่มกิจกรรมบางประการ เช่น งดดื่มเหล้า หรือของเสพติดให้โทษ นับว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมอย่างยิ่ง
 ๖) วันออกพรรษา
            ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หมายถึงการออก จากการอยู่ประจำในฤดูฝน    หลังจากที่พระภิกษุอยู่จำพรรษาตลอดเวลา ๓ เดือนแล้ว วันรุ่งขึ้นก็จะ จารึกไปที่อื่นได้ สำหรับวันนี้พระสงฆ์ต้องแรมคืนอยู่ในวัดที่จำพรรษาเพื่อให้ครบ ๓ เดือนเต็ม และทำปวารณาเสียก่อน ฉะนั้นอาจเรียกวันออกพรรษาว่า "วันปวารณา" ก็ได้
๗)  ประเพณีทอดกฐิน
เป็นประเพณีทำบุญอย่างหนึ่งของไทย ที่ทำ ในระยะเวลาที่กำหนดให้ในปีหนึ่ง ๆ ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
    ประเพณีการทอดกฐินของไทยมีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและได้ถือประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นทั้งกฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และกฐิน ของราษฎร
๘) ประเพณีทอดผ้าป่า
การทอดผ้าป่าเป็นประเพณีมีมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ฤดูกาลของการทอดผ้าป้าไม่ได้ กำหนดระยะเวลาลงไป จะทอดในฤดูไหนเดือนไหนก็ได้ ส่วนใหญ่มักจะทำในระยะเวลาจวนจะออกพรรษา
๑๐ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
คำว่า "ท้องถิ่น" หมายถึง พื้นที่และขอบเขตที่ชุมชน หมู่บ้าน เมือง มีการปะทะสรรค์กันทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนปรากฏรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน และแตกต่างกันไปจากชุมชน หมู่บ้าน และเมือง ในท้องถิ่นอื่น ดังนั้นวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นแต่ละแห่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ซึ่งเราพอจะสรุปลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของไทยได้ดังนี้
๑๐.๑ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง
             ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น    ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น
             นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์
             ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
๑)      ประเพณีรับบัวบางพลี
                  "ดอกบัว"นับว่าเป็นพันธ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ ให้ความนับถือโดยทั่วไป ในการนำมาใช้สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตามความเชื่อถือทางพุทธศาสนาในอดีตที่ผ่านมานั้นพื้นที่บริเวณของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จะเป็น แหล่งที่มีดอกบัวพันธุ์ ดอกบัวหลวงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงของฤดูฝน ดังนั้นจึงมีการจัดหาดอกบัวหลวงที่มีมากมายมาใช้ในการบำเพ็ญกุศลตามพุทธสาสนาของคนไทย ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ ก็มักจะมีการชักชวนกันพายเรือทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก   พร้อมเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ พายเรือร้องเพลงเดินทางมาตามลำคลองสำโรง มายังอำเภอบางพลี เพื่อรับบัวสำหรับองค์ประกอบของการจัดงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  ที่มีความสำคัญคือการจัดให้มีการแห่พระพุทธรูปของหลวงพ่อโต ที่ประชาชนอำเภอบางพลีและประชาชนทั่วไปรู้จักและให้ความเคารพนับถือกันอย่างมาก โดยทางเรือไปตามคลอง สำโรง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการไปจนถึงตำบลจรเข้ใหญ่ ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งก็จะมีประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ตามสองฝั่งคลองสำโรงที่ขนานเรือแห่รูปของหลวงพ่อโตจำลองแล่นผ่านไปด็จะมีการประดับธงทิวตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชาสักการะไปตลอดทั้งสองฝั่งคลอง ดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย  
๒)    ประเพณีการตักบาตรดอกไม้
      ในวันเข้าพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ชาวบ้านวัดพระ พุทธบาท จังหวัดสระบุรี แถบนั้นมีคติเชื่อว่าการบูชา พระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน "อามิสบูชา" ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานั้นย่อมได้รับผลอานิสงส์มากมาย ดังนั้นพอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ป่าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชประเภทที่มีกอหรือเหง้าฝังอยู่ใต้ดินเช่นต้นกระชายหรือต้นขมิ้น พืชได้รับความชุ่มชื่นจากฝนลำต้นก็แตกยอดโผล่ขึ้นมาจากดิน สูงประมาณคืบเศษ ๆ ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น หลายสีสันงามตามได้แก่สีขาว สีเหลือง และสีเหลืองแซมม่วง ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันไปว่า "ดอกยูงทอง" บ้างหรือ "ดอกหงส์ทอง" บ้าง แต่ที่นิยมเรียกรวมกันก็ว่า "ดอกเข้าพรรษา" เพราะเห็นว่าดอกไม้ป่าเหล่านี้จะบานสะพรั่ง ให้เห็น อย่างดาษดื่นก็เฉพาะในเทศกาลเข้าพรรษานี่เอง
๑๐.๒ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคอีสานเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ซึ่งปัจจุบันสามารถ แบ่งคนอีสานตามเชื้อสายบรรพบุรุษ ได้ ๓ กลุ่มคือ
             ๑.  ลาว มีถิ่นฐานตั้งแต่เขตจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด
             ๒. ไทย มีถิ่นฐานต่ำลงมาในเขตจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มนี้มีวัฒนธรรม ภาษา และประเพณีแตกต่างไปจากพวกลาวอีสาน
๓.  เขมร มีถิ่นฐานทางด้านตะวันออกในเขตบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
             กลุ่มคนในภาคอีสาน เป็นผู้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นในพุทธศาสนา และวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเป็นศูนย์รวมชาวอีสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
             ๑.  การเคารพในพระบรมสาริกธาตุ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ทางศาสนาที่มีความผูกพันกับชาวลาวมาอดีต พระบรมธาตุของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน ทั้งในเขต อีสานเหนือและอีสานใต้ จึงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวอีสาน
            ๒.  การเคารพสักการะพระปรางค์และปราสาทต่าง ๆ กัน   เป็นศิลปะของขอมที่ปรากฏในบริเวณอีสานใต้ แสดงถึงความผูกพันกับดินแดนของกัมพูชาในประวัติศาสตร์ ดังเช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นต้น
             ๓.  การเคารพสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหรือย่าโม ที่หน้าประตู เมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
             ภาคอีสานเป็นที่รู้จักแพร่หลายทางด้านศิลปะแบบเขมร โบราณวัตถุ และโบราณสถานที่สำคัญคือศิลาจำหลักทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาท หินเมืองต่ำซึ่งได้รับการยกย่องให้มีคุณค่าทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบเขมรและได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกที่สำคัญ
             นอกจากนั้น ชาวอีสานเป็นผู้มีความสามารถในการ ทอผ้าไทยมา เป็นเวลาช้านาน ภายหลังจากได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในการสนับสนุนการทอผ้าไหมของชาวอีสาน ส่งผลให้มีการทอผ้าไทยที่มีคุณภาพสูง อาทิ ผ้าไหม มัดหมี่ ผ้าทอพื้นเมืองลายขิด ผ้าไหมของชาวพูไทย จังหวัดนครพนม และผ้าไหมอำเภอมักธงชัย เป็นต้น
      ประเพณีฮีตสิบสอง
                  คำว่า"ฮีต"หรือ"รีต"หรือ"จารีตประเพณี" หมายความว่า "ประเพณี อันเนื่องด้วยศีลธรรมซึ่งคนส่วนรวมถือว่ามีค่าแก่สังคม ใครประพฤติฝ่าฝืนหรืองดเว้น ไปไม่กระทำ ตามที่กำหนดไว้ ถือว่าผิดเป็นชั่ว"    ฮีตสิบสองของชาวอีสานเป็นฮีตที่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องของความ เชื่อ ในพระพุทธศาสนาและประเพณีนิยมพื้นบ้าน  เป็นประเพณีที่สมาชิกในสังคมจะได้มีโอกาสร่วมชุมชนกันทำบุญประจำทุกๆเดือนของรอบปี ผลที่ได้รับคือทุกคนจะได้มีเวลาเข้าวัดใกล้ชิดกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น ทำให้ได้มีโอกาสพบปะและรู้จักมักคุ้นกัน รวมทั้งเป็นจารีตบังคับให้ทุก ๆ คนเสียสละทำงานร่วมกัน เมื่อว่างจากงานอาชำแล้ว ดังนั้นประเพณีฮีตสิบสองก็คือ ประเพณีสิบสองเดือนนั่นเอง
๒๑
 ประเพณีแรกของฮีตสิบสองจะเริ่มต้นด้วย เดือนเจียงหรือเดือนอ้าย เป็นงานบุญเข้ากรรมซึ่งเป็นการออกจากอาบัติประจำปีตามวิธีการของพระสงฆ์ ในระยะนี้ชาวบ้าน ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสจะพากันจัดอาหารคาวหวานและข้าวของเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ไป ถวายเพื่อช่วยสงเคราะห์ให้การอยู่กรรมของท่านดำเนินไปด้วยดี นอกจากนั้นยังได้ฟังเทศน์ ฟังธรรม เป็นการได้บุญอีกโสดหนึ่งด้วย ประเพณีเข้ากรรมนี้บางแห่งเชื่อว่าเป็นการทดแทนและระลึก ถึง คุณมารดาเพราะมารดาเคยอยู่กรรมนี้มาแล้ว ฉะนั้นเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้ก็ต้อง เข้ากรรมเสียก่อน ประเพณีเข้ากรรมนี้ไม่ได้กำหนดวันลงไปแน่นอน แต่จะอยู่ในระหว่างเดือนอ้าย  
 เดือนยี่เป็นระยะเวลาที่ข้างออกรวงแก่จัดและรอการเก็บเกี่ยว ในเดือนนี้จึงมีประเพณีเกี่ยวข้องกับการเก็บและการนวดข้าว เรียกว่า บุญคูนลาน ไม่กำหนดวัน แน่นอน เป็นแต่ว่าเมื่อนวดข้าวเสร็จแล้ว ชาวนาจะประกอบพิธีทำบุญกันที่ลานนั่นเอง แต่ถ้าหากขนข้าวขึ้นยุ้งแล้ว มักทำบุญที่บ้านหรือทำรวมกันที่หมู่บ้าน เป็นลักษณะการทำบุญบูชา แม่โพสพ เมื่อได้ข้าวมาสู่ลานแล้วนั่นเอง
              เดือนสามเป็นการทำบุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะเอาข้าวเหนียวมาปั้นแล้วจี่ คำว่าจี่ ก็คือปิ้งนั่นเอง วิธีทำคือนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนขนาดโตเท่าไข่ห่าน แล้วเสียบปลายไม้ที่เหลาเตรียมไว้  ไม้ไผ่นี้ยาวประมาณ ๗๕ เซนติเมตร ใหญ่ขนาดนิ้วมือ  จี่หรืออังบนไฟอ่อน ๆ พลิกไปพลิกมาจนเหลืองทั่วกันดีแล้ว นำมาทาด้วยไข่แล้วนำไปจี่อีกที ไข่ที่ใช้มานี้ใช้ทั้งไข่แดงและไข่ขาวตีให้เข้ากัน พอไข่เหลืองมีกลิ่นหอมก็ดึงไม้ออก เอาน้ำตาลปึกหรือน้ำอ้อยใส่เข้าไปเป็นไส้หวานจะนำไปถวายพระ พร้อมด้วยอาหารคาวหวานชนิดต่าง ๆ จากนั้นก็มีการถือศีล ฟังพระเทศน์เสร็จจากเลี้ยงพระก็มีการเซ่นปู่ย่าเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ
                  เดือนสี่เป็นงานทำบุญพระเวส(พระเหวด)หรือบุญคบงันหรือ เทศน์มหาชาติการทำบุญพระเวสนั้นแบ่งเป็นสามวัน วันแรกเป็นวันรวมหรือที่พื้นเมืองเรียกว่า มื่อโฮม วันที่สองมีการแห่พระเวสสันดร กัณหา ชาลี และพระนางมัทรี มีการเซิ้งนำหน้า วันที่สาม ฟังเทศน์มหาชาติในงานบุญพระเวสนี้ จะมีการตกแต่งศาลาให้คล้ายกับพระเวสสันดรในเขาวงกต ชาวบ้านมีหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงพระและแขกเหรื่อ งานนี้จะมีผู้คนจากที่ต่าง ๆ มาชุมนุมกัน ทั้งคนหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ ต่างคนก็ร่วมแรงร่วมใจกันหาเงินเข้าวัด เพื่อที่พระจะได้นำไปบูรณะ ซ่อมแซมวัด
 เดือนห้าเป็นงานบุญสรงน้ำ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าวันสงกรานต์  เริ่มตั้งแต่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อถึงงานสงกรานต์ชาวบ้านจะหยุดทำงานเพื่อมาร่วมสนุกสนานกันเป็นเวลาถึงเจ็ดวัน ในระหว่างนั้นก็มีการสรงน้ำพระพุทธ พระสงฆ์ โดยชาวบ้านจะทำผาม (ปะรำ) แล้วเชิญพระพุทธรูปขึ้น
ประดิษฐาน ณ ปะรำพิธี บนปะรำมีรางน้ำ ทำเป็นรูปพญานาคที่ไว้สำหรับสรงน้ำพระพุทธที่หนึ่ง พระสงฆ์ที่หนึ่ง
                  ในตอนเช้าของวันงานบุญสรงน้ำชาวบ้านก็พากันทำบุญตักบาตรถวายจังหันพอถึงกลางวันก็ถวายเพล ราวเที่ยงวันจึงนำดอกไม้ ธูปเทียน น้ำขมิ้นและของ หอมไปสรงน้ำพระ แล้วรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไปจากนั้นก็มีการสาดน้ำ ตอนบ่ายหลังจากแล่นสาดน้ำแล้วก็จะไปเก็บดอกไม้ตามไร่นาป่าเขาใกล้ๆหมู่บ้านมา เตรียมไว้
๑๑ ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติในวัฒนธรรมไทย
๑๑.๑ศาสนา
๑. เมื่อไปวัดในพุทธศาสนาควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อนุญาตให้สวมรองเท้าเดินรอบอุโบสถ/โบสถ์ แต่ต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าอุโบสถ/โบสถ์ และบริเวณที่มีป้ายบอกแสดงไว้
๒. ในกรณีของศาสนาอื่น ให้ปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัติของศาสนานั้น ๆ
๓. มีกฎข้อห้ามของสงฆ์มิให้สัมผัสกับสตรี ดังนั้น สตรีไม่ควรอยู่แนบชิดพระสงฆ์หรือมีการสัมผัสใด ๆ หากต้องรับสิ่งของใดจากพระสงฆ์ ควรรอให้พระสงฆ์วางของสิ่งนั้นก่อนแล้วจึงหยิบของสิ่งนั้น และเมื่อต้องการถวายสิ่งของแด่พระสงฆ์ ให้วางลงบนผ้าที่พระสงฆ์วางแผ่ไว้ให้
๔. การปีนป่าย นั่ง หรือพิงพระพุทธรูปไม่ว่าจะองค์ใหญ่หรือเล็ก ชำรุดหรือไม่ องค์จริงหรือองค์จำลอง ถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงถึงความไม่เคารพวัตถุทางศาสนา หากต้องการถ่ายรูปกับพระพุทธรูปใด ๆ ควรอยู่ในกริยาที่สงบและให้ความเคารพต่อพระพุทธรูป
๕. การวางพระพุทธรูปควรวางไว้ในที่เหมาะสม โดยปกติชาวไทยนิยมตั้งพระพุทธรูปไว้บนที่สูง การตั้งหรือวางพระพุทธรูปไว้กับพื้นห้อง เชิงบันได ใต้โต๊ะ ใต้เตียง ใต้เก้าอี้ ในห้องน้ำ หรือพื้นสนามเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพ
๖. การจำหน่ายพระพุทธรูปมีเจตนาเพื่อให้บุคคลนำไปสักการบูชา มิใช่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด เพราะพระพุทธรูปถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้การใช้พระพุทธรูปเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น ขนม เครื่องดื่ม เครื่องดองของเมา เครื่องเล่น หรือมีภาพพระพุทธรูปไปประทับ ปรากฎอยู่กับวัตถุที่เป็นของใช้สอยทั่วไปในชีวิตประจำวันของบุคคลเช่น รองเท้า ถุงเท้า ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
๗. พระพุทธรูปเป็นสิ่งเคารพสูงสุดอย่างหนึ่ง จัดสร้างเพื่อสักการบูชา ประเทศไทยจึงมีกฎหมายหลายฉบับที่ให้ความคุ้มครองพระพุทธรูป เช่นการนำพระพุทธรูปออกนอกประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนระวางโทษตามกฎหมายกำหนด
๘. การกระทำการใด ๆ แก่สิ่งที่เคารพ นับถือ หรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๖ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ๗ ปี
๙. การก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๗ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี
๑๐. การแต่งกายและแสดงตนเป็นนักบวชในศาสนาต่าง ๆ โดยมิชอบเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๘ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี
๑๑.๒ พระมหากษัตริย์
๑. สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ การละเมิดใด ๆ ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลังถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
๒. การแสดงความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ
๓. การยืนถวายความเคารพระหว่างเพลงบรรเลงสรรเสริญพระบารมีเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ
๔. เมื่อเข้าไปในเขตพระราชฐานควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้สวมเสื้อไม่มีแขน กางเกงขาสั้น หรือรองเท้าแตะ
๑๑.๓ ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม
๑. ชาวไทยทักทายกันและกันโดยการไหว้
๒. ชาวไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงจึงไม่ควรแตะต้องศีรษะของผู้ใด หากบังเอิญพลาดไปแตะศีรษะของผู้ใด ควรกล่าวคำขอโทษโดยเร็ว
๓. ชาวไทยถือว่าเท้าเป็นของต่ำจึงไม่ควรยกเท้าพาดบนโต๊ะ เก้าอี้ หรือใช้เท้าชี้คนหรือสิ่งของใดๆ
๔. การแสดงความรู้สึกทางเพศอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ถือเป็นสิ่งที่จะไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย
๕. การแสดงธงชาติไทยไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ หรือสินค้าใด ๆ ที่มิได้มีลักษณะเป็นการเหยียดหยามให้ทำได้โดยสมควรเฉพาะ ๑) เป็นการกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ๒) เป็นการกระทำทางการพาณิชย์โดยได้รับความเห็นชอบจากราชการอย่างถูกต้องแล้วตามกฎหมายเรื่องธงชาติ

๖. การละเล่นในเทศกาลสงกรานต์หรือเทศกาลประเพณีต่าง ๆ ของไทยควรกระทำเพื่อสืบทอดธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามและแสดงออกถึงความปรารถนาดีและเจตนาบริสุทธิ์ เช่นควรใช้น้ำสะอาด และภาชนะบรรจุที่เหมาะสมในประเพณีสงกรานต์ และไม่ควรเล่นน้ำสงกรานต์กับผู้ที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีความประสงค์จะเล่น เป็นต้น